ญี่ปุ่นปล่อย ASTRO-H ดาวเทียมดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ขึ้นสู่วงโคจรโลก
ASTRO-H หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ฮิโตมิ (Hitomi) ที่หมายความว่า “ดวงตา” เป็นดาวเทียมด้านดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ โดยองค์การการสำรวจการบินอวกาศญี่ปุ่น(JAXA) เพื่อศึกษาด้านดาราศาสตร์ในย่านฮาร์ดเอ็กซ์เรย์ (hard X-ray band) เหนือ 10 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) ถือเป็นดาวเทียมด้านดาราศาสตร์ดวงที่ 6 ของญี่ปุ่น
ASTRO-H ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:45 ตามเวลาสากล (UTC ) จากฐานปล่อยจรวด Tanegashima โดยจรวด H-IIA ขึ้นไปที่ระดับความสูง 575 กิโลเมตร โดยจะใช้เวลาโคจรรอบโลกแต่ละครั้งครั้งละ 96 นาที ระนาบการเอียงวงโคจร 31 องศา
ภาพจำลอง ASTRO-H

คลิปการปล่อย ASTRO-H
เป้าหมาย
- ถ่ายภาพและศึกษาสเปคโตสโกปีด้วยกล้องโทรทรรศน์ย่านฮาร์ดเอ็กซ์เรย์เป็นครั้งแรก
- ศึกษาสเปคโทรสโกปีด้วยความคมชัดพลังงานสูงด้วยไมโครแคลอรีมิเตอร์เป็นครั้งแรก
- เป็นการศึกษาย่านกว้างตั้งแต่ 0.3 ถึง 600 keV ที่มีความไว(sensitive) มากที่สุด
- ศึกษาการก่อตัวของกระจุกดาราจักร (galaxy clusters),การก่อตัวของดาราจักรทางช้างเผือก, จานก๊าซร้อนรอบๆหลุมดำ, ดาวนิวตรอน, การระเบิดซูปเปอร์โนวา
อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
- Hard X-ray Telescope (HXT) กล้องโทรทรรศน์ฮาร์ดเอ็กซ์เรย์ 5-80 keV
- Hard X-ray Imager (HXI) เครื่องถ่ายภาพฮาร์ดเอ็กซ์เรย์ 20-80 keV
- Soft X-ray Telescope (SXT-S, SXT-I) กล้องโทรทรรศน์ซอฟต์เอ็กซ์เรย์
- Soft X-ray Imager (SXI) เครื่องถ่ายภาพซอฟต์เอ็กซ์เรย์ 0.3-12 keV
- Soft X-ray Spectrometer (SXS) สเปคโทรมิเตอร์ซอฟต์เอ็กซ์เรย์ 0.3-12 keV
- X-ray Calorimeter Spectrometer (XCS) แคลอรีมิเตอร์สเปคโทรมิเตอร์ 0.3—12 keV
- Soft Gamma-ray Detector (SGD) เครื่อตรวจจับซอฟต์แกมมาเรย์ 60-600 keV
คลิปแสดงการทำงานของอุปกรณ์
ASTRO-H ถูกสร้างโดยความร่วมมือจากนานาประเทศนำโดย JAXA กับสถาบัน 70 สถาบันในญีุ่ปี่น, อเมริกา, แคนาดาและยุโรป ด้วยเงินลุงทุน 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีน้ำหนัก 2.7 ตัน ความยาว 14 เมตร กำลังไฟฟ้า 3,500 วัตต์ อายุการใช้งานอย่างน้อย 3 ปี
คลิปจำลองการขึ้นสู่วงโคจร จากเกม Kerbal space program
ที่มา JAXA, Yale, Government of Canada, Nature