คลื่นความโน้มถ่วงถูกตรวจจับได้อีกเป็นครั้งที่ 2

Posted on Updated on


หลังจากที่ LIGO ได้ตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2015 ไม่กี่เดือนต่อมา LIGO ก็ตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงจากการรวมตัวของหลุมดำได้อีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2015 เมื่อตรวจสอบความถูกต้องทั้งหมดได้ประกาศการค้นพบในวันนี้

Signal-Frequency-Over-Time-Chart
ภาพโดย LIGO

ครั้งนี้การรวมตัวกันของหลุมดำ 2 หลุมที่อยู่ห่างออกไปจากโลก 1400 ล้านปีแสง ทำให้เกิดคลื่นความโน้มถ่วงและเดินทางมาถึงโลกและถูกตรวจจับได้โดยหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงเลเซอร์อินเตอร์เฟอรอมิเตอร์ (Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory หรือ LIGO) หลุมดำทั้งสองมีมวลเป็น 14.2 และ 7.5 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งเบากว่าเมื่อเทียบกับครั้งแรก (ครั้งแรกมีมวล 29 และ 36 เท่าของมวลดวงอาทิตย์)

Gravity-Waves-StillImage
ภาพโดย LIGO

เหตุการณ์การรวมตัวกันของหลุมดำที่ทำให้เกิดคลื่นความโน้มถ่วงครั้งนี้เรียกว่า GW151226 (Gravitational wave 2015-12-26) ถูกตรวจจับได้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2015 เวลา 03:38 ตามเวลาสากล GMT แต่เวลาในอเมริกานั้นคือวันที 25 ธันวาคมซึ่งเป็นคริสต์มาส เมื่อมันมาถึง”มันได้ทำลายเมื่อเย็นของบางครอบครัว” กล่าวโดย Vicky Kalogera นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเธิร์นและเป็นสมาชิกของ LIGO collaboration

เช่นเคยตำแหน่งของการรวมตัวนั้นยังทราบคร่าวๆเป็นพื้นที่กว้าง เหล่านักนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะระบุตำแหน่งที่แคบลงด้วยเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงที่มากขึ้นในอนาคต

Localization-Comparison-1
ภาพโดย LIGO

ที่มา : Space.com

ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s