พบดาวเคราะห์โคจรรอบดาวพร็อกซิมาเซ็นทัวรี ดาวฤกษ์ที่ใกล้ที่สุด

Posted on Updated on

จากการที่ทีมนักดาราศาาตร์ได้ระดมใช้กล้องโทรทรรศน์ ในที่สุดก็พบหลักฐานที่ชัดเจนของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวพร็อกซิมาเซ็นทัวรี (Proxima Centauri) ดาวฤกษ์ที่ใกล้ที่สุดกับระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า Proxima Centauri b

พร็อกซิมาเซ็นทัวรีดาวฤกษที่ใกล้ที่สุดนี้อยู่ห่างจากโลกแค่ระยะทางเพียง 4.2 ปีแสง (หากเดินทางด้วยความเร็วแสง จะใช้เวลาเดินทาง 4.2 ปี) พร็อกซิมาเซ็นทัวรีเป็นดาวแคระแดง (Red dwarf) ที่ค่อนข้างมีสว่างน้อยและมีอุณภูมิน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเราอยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ใกล้กับดาวฤกษ์คู่ที่สว่างกว่าคือ อัลฟาเซ็นทัวรี เอ (Alpha Centauri A) และ อัลฟาเซ็นทัวรี บี (Alpha Centauri B) ทำให้พร็อกซิมาเซ็นทัวรีมีอีกชื่อหนึ่งคือ อัลฟาเซ็นทัวรี ซี (Alpha Centauri C)

ในช่วงต้องของปี 2559 นี้เป็นการเฝ้าติดตามด้วยสเปคโตมิเตอร์ High Accuracy Radial velocity Planet Search หรือ HARPS จากกล้องโทรทรรศน์ ESO 3.6 เมตร ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (European Southern Observatory; ESO) ตั้งอยู่ในประเทศชิลีในทวีปอเมริกาใต้ ร่วมกับกล้องโทรทรรศน์อื่นๆทั่วโลก นี่คือแคมเปญจ์ Pale Red Dot (จุดแดงจาง) ที่ซึ่งทีมนักดาราศาสตร์นำโดย Guillem Anglada-Escudé จากมหาวิทยาลัยควีนแมรี่แห่งลอนดอน (Queen Mary University of London) ได้มองหาการโยกไหวเล็กๆของดาวฤกษ์ที่อาจจะมาจากการถูกดึงด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆอยู่ หรือวิธี Radial Velocity Method

โดยทั่วไปการตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ(Exoplanet)จะเป็นวิธี Transit หรือการโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ซึ่งจะทำให้แสงดาวหรี่ลงเล็กน้อยเป็นคาบประจำทุกครั้งที่มีดาวเคราะห์โคจรผ่าน อย่างก็ตามวิธีจะไม่สามารถตรวจจับได้ถ้าระนาบโคจรไม่ตรงกับมุมมองจากโลก จะต้องใช้วิธีอื่นในการตรวจจับ เช่นตรวจหาความโยกไหวของดาวแม่ด้วยวิธี Radial Velocity Method เป็นต้น

ภาพอธิบายการโยกไหวของดาวฤกษ์ที่เกิดจากความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่รอบๆซึ่งส่งผลต่อตำแหน่งและความเร็วของดาวฤกษทำให้เกิดปรากฎการณ์ดอปเปลอร์(Doppler effect) แสงจากดาวฤกษ์จะเลื่อนไปทางฟ้า(Blueshift)เมื่อดาวเคลื่อนห่างจากโลก และแสงจากดาวฤกษ์จะเลื่อนไปทางแดง(Redshift)เมื่อเคลื่อนมาใกล้ทางโลก

Planet_reflex_200
ภาพโดย Wikipedia / CC BY-SA 3.0

Guillem Anglada-Escudé อธิบายที่มาของการค้นหานี้เกิดจากตรวจพบร่องรอยการมีอยู่ของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวพร็อกซิมาเซ็นทัวในปี 2556 แต่การตรวจพบครั้งนั้นยังไม่เป็นหลักฐานที่หนักแน่นพอที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ เคราะห์นี้อยู่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ทำงานอย่างหนักพยายามสังเกตและเก็บข้อมูลด้วยความร่วมกันระหว่าง ESO และหอดูดาวอื่นๆทั่วโลก

ด้วยข้อมูลจากโครงการ Pale Red Dot ร่วมกับข้อมูลการสังเกตุก่อนๆหน้าของ ESO และจากที่อื่นๆ เผยให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่น่าตื่นเต้น จากสังเกตดาวด้วยวิธี Radial Velocity Method สามารถคำนวนมวลของดาวเคราะห์ได้ พบว่ามีมวล 1.3 เท่าของโลกและโคจรอยู่รอบๆด้วยระห่างจากดาวแม่ 7 ล้านกิโมเมตร ซึ่งคิดเป็นเพียงระยะทางแค่ 5% ของระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ใกล้กว่าดาวพุธเสียอีก ดาวเคราะห์ Proxima Centauri b นี้ใช้เวลาโคจรรอบดาวแม่เพียง 11.2 วันเท่านั้น

แม้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะอยู่ใกล้กับดาวแม่ แต่ดาวแม่ของมันก็มีความสว่างน้่อย(พลังงานน้อย) ทำให้มัน Proxima Centauri b อยู่ในเขตที่สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่อาศัยได้ (habitable zone) และด้วยการประมาณการอุณหภูมิพื้นผิวดาวพบว่าสามารถมีน้ำเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความที่อยู่ใกล้มาก ดาวนี้อาจจะได้รับผลกระทบของรังสีเอกซ์ที่มากับเปลวสุริยะ (Solar flare)ได้ ซึ่งจะกัดกร่อนชั้นบรรยาการและทำให้น้ำหายไปหรือขัดขวางพัฒนาของสิ่งมีชีวิตเริ่มแรก ความใกล้ของดาวเคราะห์อาจทำให้เกิดไทดัลล็อกซึ่งขัดความการพัฒนาของสิ่งมีชีวิตเนื่องจากจะทำให้ด้านหนึ่งของดาวร้อนเกินไปและด้านหนึ่งของดาวเย็นเกินไป

ภาพจำลองดาวเคราะห์ Proxima Centauri b โดยศิลปิน

proxima-centauri-b-planet
ภาพโดย ESO/M. Kornmesser

การค้นพบครั้งนี้ยังถือเป็นแค่การเริ่มต้น ซึ่งจะตามมาด้วยการสังเกตและตรวจสอบที่่เข้มข้นขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันและกล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์รุ่นถัดไปอย่าง European Extremely Large Telescope หรือ E-ELT ของยุโรป ดาว Proxima Centauri b จะเป็นเป้าหมายหลักๆในการค้นหาหลักฐานของสิ่งมีชีวิตอื่นในเอกภพและระบบดาว Alpha Centauri ก็ยังเป็นเป้าหมายแรกในการพยายามของมนุษย์ในการเดินทางไปยังระบบสุริยะอื่นๆ

ที่มา : ESO, Space.com

ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s