ทริคเล็กๆน้อยๆสำหรับเกม Kerbal Space program

Posted on Updated on

หลังจากได้อ่านรีวิวมาบ้างแล้ว นี่เป็นทริคเล็กๆน้อยๆสำหรับเกม Kerbal Space Program ในโหมด Career

002

การรับภารกิจ
-ภารกิจหรือสัญญาจ้างจะมีเวลาหมดอายุรับภารกิจ ภาระกิจง่ายๆจะหมดอายุรับภาระกิจในประมาณ 5 ชั่วโมง ในช่วงแรกจะรับภาระกิจได้จำกัด ดังนั้นควรรับภาระกิจที่จะหมดอายุเร็วไว้ก่อน
-ภาระกิจ 1 ดาวหรือภาระกิจง่ายๆจะสามารถทำได้หลายครั้ง ตรงนี้ช่วยให้เราสะสมเงินได้
-ภารกิจมีอายุการทำภาระกิจ แต่ไม่ต้องกังวล ส่วนใหญ่ให้เวลาเป็นปี ภาระกิจใกล้ดาว Kerbin ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่เกินหนึ่งวัน
-ภาระกิจทดสอบชิ้นส่วนบางอย่างนั้นง่ายมาก แค่ทดสอบที่ฐานปล่อยจรวดก็ได้ คุ้มมาก
-เมื่อมีเงินมากพอควรอัพเกรดศูนย์รับภาระกิจให้ถึงขั้นสุดยอด จะได้ไม่ต้องมากังวลเรื่องอายุการรับภาระกิจ และจำนวนการรับภาระกิจ

การสร้างจรวด
-ติดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ไปเยอะๆ เพราะมันสามารถใช้ได้ครั้งเดียว ยกเว้นมีลูกเรือเป็นนักวิทยาศาสตร์(Scientist)จะทำให้สามารถใช้ได้หลายครั้ง หากกดผิดโดยไม่ตั้งใจสามารถกดรีเซ็ตได้
-เวลาสร้างจรวดควรสร้างให้มีความสมมาตร
-สร้างชั้นล่างใหญ่กว่าชั้นบน ให้นึกถึงกองผลไม้
-เครื่องยนต์ไอพ่นบางชนิดทำความเร็วได้ที่ผิวดาว บางชนิดทำความเร็วได้ดีกว่าในอวกาศ ลำดับให้ดี
-Solid rocker booster หรือจรวดเชื้อเพลิงแข็งทำความเร็วได้ดีที่ผิวดาว แต่จุดเชื้อเพลิงแล้วดับไม่ได้
-อย่าลืมติดร่มชูชีพจะช่วยให้จรวดลงอย่างปลอดภัยและได้ชิ้นส่วนคืนมาเยอะขึ้นช่วยประหยัดเงิน หากมีน้ำหนักมากต้องใช้ร่มชูชีพมากขึ้น ร่มไม่สารถใช้กับดาวที่ไม่ชั้นบรรยากาศอย่างดวงจันทร์ Mun และ Mimus ได้
-หากยานใหญ่และยาวมากควรเพิ่ม Strut เพื่อลดการส่ายของยาน
-เมื่อสร้างเร็วควรเช็คข้อมูลคำเตือนวิศวกรว่าเราอาจทำผิดอะไรบ้าง ช่วยลดความผิดพลาด นอกจากนั้นดูลำดับการทำงานของแต่ละชิ้นส่วนทางด้านขวาให้ดี นำร่มชูชีพไว้บนสุด
-การอัพตึกสร้างจรวด จะทำให้ใช้ชิ้นส่วนได้มากขึ้นรับน้ำหนักได้มากขึ้น ฐานปล่อยจรวดก็เช่นกัน

การปล่อยจรวด
-ปุ่ม z เร่งเครื่องสูงสุด space bar จะสั่งให้ชิ้นส่วนทำงานตามลำดับที่วางไว้
-หากมีลูกเรือที่เป็นนักบิน(pilot) กดปุ่ม T จะทำให้จรวดควบคุมได้ง่ายขึ้น
-คุณสามารถเก็บค่า Science ที่ฐานปล่อยจรวดได้
-การให้จรวดไปทางตะวันออก (Launch Azimuth=90องศา) จะประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าการไปทางตะวันตก เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดาว Kerbin แต่ไม่ต้องรีบหันจรวดมากนั้นรอสัก 10,000 เมตรก่อนก็ได้

Orbit การขึ้นสู่วงโคจร
-ทำความสูงของ Apoapsis ให้ได้ประมาณ 75,000-90,000 เมตร เผาเชื้อเพลิงในทิศทาง Prograde ใกล้กับ Apoapsis เผาจนก่า Periapsis จะสูงมากกว่า 70,000 เมตร หรืออาจะ ตั้ง maneuver node ที่ Apoapsis แล้วเผาเชื้อเพลงครึ่งหนึ่งของเวลาประมาณการ เช่น ถ้าต้องเผาเชื้อเพลิง 30 วินาที ต้องเผาก่อนที่ยานจะถึง node ประมาณ 15 วินาที

Re-entry การกลับสู่ดาว
-เผาเชื้อเพลิงในทิศ Retrograde ให้ Periapsis เหลือประมาณ 20,000
-หันเกราะกันความร้อน(Heat shield)เข้าหาชั้นบรรยากาศ หรือทิศ Retrograde
-เมื่อยานไม่เสียดสีกับชั้นบรรยากาศแล้ว ปล่อยส่วนลงจอด (Landing gear) หากมี
-ปล่อยร่มที่ระดับควมสูง 4,000-2,000 เมตร หรือยานมีความเร็วน้อยกว่า 250 m/s

Rendezvous การพบกับยานเป้าหมาย
-กำหนดเป้าหมาย เร่งเวลาให้ยานเป้าหมายทำมุม 30-40 องศาก่อนถึงฐาน KSC แล้วจึงค่อยปล่อยจรวด
-ทำความสูงของ Apoasis ให้เท่ากับวงโคจรของยานเป้าหมายหรือต่ำกว่าเล็กน้อย จากนั้นทำ Orbit
-วงโคจรเล็กจะเคลื่อนที่เร็วกว่าลงโครจรใหญ่ หากยานเราอยู่ก่อนให้ทำลงโคจรให้ใหญ่กว่าเล็กน้อย หากยานเราอยู่หลังให้ทำวงโคจรเล็กกว่าเล็กน้อย
-ปรับองศาการเอียงเปรียบเทียบ(Relative inclination)ให้เท่ากันหรือเท่ากับ 0โดย เผาเชื้อเพลิงในทิศ Anti-normal ใกล้กับ Ascending node(AN) หรือเผาเชื้อเพลิงในทิศ Normal ใกล้กับ Descending Node(DN) อาจจะใช้ RSC truster ในทิศไปข้างหน้าสำหรับการขยับน้อยๆ
-ตั้ง maneuver node เพื่อทำ Hohmann transfer โดยเพิ่ม(หรือลด)ความสูงของวงโคจรให้ด้านหนึ่งเข้าใกล้กัน แต่ต้องระวังไม่ให้ Periapsis น้อยกว่า 70,000 เมตร ให้ระยะทางที่จะยานจะเจอกันประมาณ 5-0.5 กิโลเมตร หากไม่สามารถทำได้ เร่งเวลาให้ยานโคจรไปเรื่อยๆจนกว่าจะเข้าใกล้สัก 50-5 กิโลเมตร แล้วตั้ง maneuver node ใหม่
Hohman Transfer

-เมื่อยานเข้าใกล้กันประมาณ 2-3 กิโลเมตร ให้ลด(หรือเพิ่ม)ความเร็วให้ได้สิบเท่าของระยะทางในหน่วยกิโลเมตร และลดลงเรื่อยๆตามระยะทางที่ลดลง เช่น
ที่ 2 กิโลเมตร ควรมีความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที
ที่ 2 กิโลเมตร ควรมีความเร็ว 10 เมตรต่อวินาที
ที่ 500 เมตร ควรมีความเร็ว 5 เมตรต่อวินาที
ที่ 100 เมตร ควรมีความเร็ว 2 เมตรต่อวินาที
ที่ 50 เมตร ควรมีความเร็ว 0.1 เมตรต่อวินาที
-ควรเบิร์นให้ทิศของยานเราตรงกับยานเป้าหมายไปพร้อมกับการลดความเร็ว สังเกต ทิศ Prograde จะดูด ทิศ Retrograde จะผลัก

Docking การเชื่อมต่อยาน
-เมื่อยานใกล้กันประมาณ 50-30 เมตรให้ ลดความเร็วให้ใกล้ 0 ตั้งเป้าหมายที่ส่วนเชื่อมต่อยาน (Docking port) เป้าหมาย เปิดระบบขับเคลื่อนยานด้วย Monopropellant หรือ RSC Truster (กด R)
-หมุนยาน(rotate)ด้วยปุ่ม W,A,S,D ให้ส่วนเชื่อต่อหันหน้าตรงกัน เคลื่อนยาน(translate)ด้วยปุ่ม I,J,K,L สำหรับการเคลื่อนที่ไปด้านข้างหรือด้านบนล่าง และปุ่ม H,N สำหรับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือข้างหลัง ปรับให้ทิศความเร็วตรงกันและเคลื่อนเข้าหากันด้วยความเร็ว 0.1-0.2 m/s
-เมื่อยานเริ่มดูดติดกัน ปิดระบบ SAS (กด T) จะทำให้เชื่อมต่อเร็วขึ้น

Mun Flyby, orbit insertion and Landing ไปดาวจันทร์
-ก่อนปล่อยยานให้กำหนดเป้าหมายที่ดวงจันทร์ Mun
-ทำ Orbit ให้ยานมีทิศทางไปทางตะวันออก 90 องศา เพื่อให้องศาการเอียงใกล้เคียง 0
-เผาเชื้อเพลิงทำมุม 90 องศาก่อนดวงจันทร์

Munar transfer2
-ลดความเร็วที่ Apoapsisที่ดวงจันทร์ ลดวงโคจรให้เหลือประมาณ 10,000-20,000 เมตร
-ลดความเร็วให้ปลายทางตกที่ด้านสว่างของดวงจันทร์ ปล่อยส่วนลงจอด(Landing gear)
-ลดความเร็วของยานให้เหลือ 1-4 m/s ก่อนถึงพื้น
-การปักธงบนดาวจะทำให้ลูกเรือได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้น

Planetary Flyby, orbital insertion and Landing ไปดาวเคราะห์อื่น
การไปดาวเคราห์เคราะห์อื่นจะไม่สามารถไปเมื่อไหร่ก็ได้แบบดวงจันทร์ จะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยเรียกว่า launch window เช่น ถ้าจะไปดาว Duna ดาวเสมือนดาวอังคาร ช่วงเวลาปล่อยจะจรวดจะเป็นช่วงที่ดาว Kerbin ทำมุมกับดาว Duna เมื่อเทียบกับดาวอาทิตย์ Kerbol เป็นจุดหมุน ทำมุมประมาณ 37-45 องศา เรียกว่า Phase angle หรือประมาณวันที่ 200 กว่าๆของปีแรก นอกจากนั้นยังมีมุมในการออกตัวหรือ Ejection angle ประมาณ 157-160 องศา ใช้เว็บทำคำนวนแบบละเอียดจากเว็บนี้ https://alexmoon.github.io/ksp/
หรือเว็บนี้ http://ksp.olex.biz/

-การออกแบบยานจะต้องมี delta-v ที่เพียงพอในการไปยังดาวต่างๆ ดูจากแผนที่  delta-v

KerbinDeltaVMap
ภาพจาก wiki.kerbalspaceprogram / CC-BY

ส่วนการจะดูค่า delta-v ของยานนัั้นต้องติดตั้ง mod เสริมเช่น Kerbal Engineer Redux หรือ Mechjeb เป็นต้น (ดูวิธีลง mod คลิ๊กที่นี่)

การสะสมค่าวิทยาศาสตร์
-สามารถเก็บค่าวิทยาศาสตรได้จากแต่ละชั้นบรรยากาศ และเก็บได้หลายพื้นที่ (Biome) ดวงจันทร์นั้นก็มีีหลาย Biome
-เครื่องมือบางชนิดสามารถเก็บซ้ำได้หลายครั้ง แต่จะได้ค่าน้อยลงเรื่อยจนเป็น 0
-ที่ฐาน KSC แต่ละอาคาร(และเสาธงด้วย)เป็นคนละ Biome
-ต้องอัพเกรดตึกวิจัยวิทยาศาสตร์จะทำให้ลูกเรือสามารถเก็บข้อมูลนอกยาน (EVA report) และเก็บตัวอย่างจากพื้นดิน(Take surface sample)ได้
-การสร้างห้องแลปทดลองในอวกาศจะทำให้ได้ค่าวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องทุกวัน จำเป็นต้องมีลูกเรือที่เป็นนักวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งคน เลเวลหรือประสบการณ์ของนักวิทยาศาสตร์จะทำให้ได้ค่าวิทยาศาสตร์ต่อวันมากขึ้น ควรมีแผงโซล่าห์เซลล์และแบตเตอรรี่มากพอสำหรับใช้เมื่อยานโคจรไปสู่ด้านมืดของดาว Kerbin

คำแนะนำสำหรับบางภารกิจ
– Escape trajectory คือขับยานให้มีความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น(Escape velocity) สำหรับดาว Kerbin อยู่ที่ 3431.03 m/s เมื่อทำความเร็วนี้ได้คุณจะหลุดจาแรงโรงถ่วงดาและไม่กลับมาอีกเลย ยกเว้นจะหันยานและเร่งเครื่องกลับมาหรือปล่อยให้ยานโคจรมาเฉียดดาว Kerbin อีกครั้ง
-ภารกิจสำรวจ (Survey) อาจจะให้คุณทดสอบอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่างๆ หรือรายงานลูกเรือ ณ จุดต่างๆ บนดาว Kerbin หรือดาวอื่น ข้อควรระวังก็คือต้องตรวจสอบให้ดีว่าต้องทำที่ระดับความสูงเท่าไร (อาจเป็น Above หรือ below) หรือทำที่ผิวดาว หากคุณไม่สามารถเล็งจุดผ่านหรือจุดลงจอดได้อย่างแม่นยำ ให้สร้างเครื่องบินแล้วขนอุปกรณ์ไปสำรวจแทน อย่างไรก็ดีเครื่องบินในช่วงต้นๆเกมนั้นบินได้ไม่ไกลนัก
-ภารระกิจทดสอบอุปกรณ์เช่นเครื่องยนต์ ต้องทดสอบที่ความเร็วและความสูงที่ถูกต้อง บางครั้งใช้การคลิ๊กขวา Run test
-ภาระกิจช่วยเหลือ ไม่จำเป็นต้องใช้ Docking port ก็ได้ แค่ Rendezvous เข้าใกล้กัน แล้ว EVA ลูกเรือออกจากยาน ใช้ R เปิดระบบไอพ่น แล้วยานลูกเรือไปยังยานที่ใช้กลับดาว
-ภาระกิจเก็บกวาด ใช้ตัวยืดจับขยะอวกาศ แล้วนำกลับมาสู่ดาว
-สร้างห้องทดลองในอวกาศ จำเป็นต้องสร้างยานขนาดใหญ่เพื่อให้มีแรงและเชื้อเพลิงเพียงพอ

ผู้เล่นขั้นสูง
– 
Mod Remote tech 2 เพิ่มความสมจริงในการควบคุมดาวเทียม คุณจะต้องติดเสาอากาศไปกับดาวเทียมด้วย หากสัญญาณหลุดคุณจะควบคุมยานไม่ได้ สำหรับการสื่อสารระยะไกลมากจะต้องใช้จานดาวเทียม สัญญาณจะถูกบังโดยดาวคุณจะต้องขึ้นสู่วงโคจรให้ได้ก็ที่สัญญาณจะขาดหาย สร้างเครือข่ายดาวเทียมเพื่อ relay สัญญาณให้ครอบคุมทุกจุดรอบดาว วงโคจรค้างฟ้าของดาว Kerbin จะอยู่ที่ 2863.33 กิโลเมตรมีประโยชน์ตรงที่ดาวเทียมจะโคจรไปพร้อมกับการหมุนของดาวพอดีทำให้มันลอยค้างฟ้า การเดินทางไปยังที่ไกลๆนั้นจะต้องจานที่ใหญ่ขึ้นและจะเกิดการดีเลย์ในการควบคุมยานทำให้ควบคุมยานลำบากมากขึ้น อ้อแล้วก็อย่าลืมเรื่องแบตเตอรรี่และแผงโซลาร์เซลล์

ใส่ความเห็น