ขาลงของธุรกิจการศึกษาอุดมศึกษา
ในช่วงปี 1-2 ปีนี้ ตลาดธุรกิจการศึกษาอุดมศึกษาหรือระดับมหาวิทยาลัยนั้นกำลังเริ่มประสบปัญญาเด็กมาสมัครเรียนน้อยลง ทำให้มหาวิทยาลัยเริ่มสัมผัสถึงปัญหาทางการเงินจากการที่มีรายได้ลดลงแต่ต้นทุนยังคงเท่าเดิม มหาวิทยาบางแห่งเริ่มปรับตัวโดยเสนอจูงใจให้ออกจากงานด้วยเงินหรือ “จ้างให้ออก” เพื่อลดต้นทุน
ปัจจุบันที่ว่างเรียนมีมากกว่าเด็กที่ต้องการเรียนแล้วแม้ว่าจะเห็นการแย่งกันเข้าเรียนอยู่ แต่จริงๆคือแย่งกันเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ส่วนมหาลัยอื่นๆที่ว่างเพียบแทบไม่เด็กมาเรียน เกิดอะไรขึ้นทำไมจำนวนนักเรียนถึงลดลง เหตุผลหลักๆคือจำนวนการเกิดที่ลดลง อายุส่วนใหญ่ของนักศึกษาที่เข้ามหาวิทยาคือ 17-18-19 ปี ถ้าเราเอาปี 2560 หักออกด้วย 18 ปี จะพบว่าคือเด็กที่เกิดในปี 2542 จากข้อมูลจำนวนการเกิดของเด็กจากกระทรวงสาธารณะสุขย้อนหลังตั้งแต่ปี 2526-2558 (ดูภาพที่ 1) พบว่าจำนวนการเกิดของประชากรไทยลดลงเรื่อยๆ และลดลงอย่างมากในปี 2540-2542 ทำไมการเกิดจึงลดลงอย่างมากในช่วงปีนี้ ก็เพราะในช่วงเวลานั้นเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตในภาคการเงินทำให้ธุรกิจเป็นหนี้และล้มละลาย โรงงานปิดตัว เกิดการว่างงานจำนวนมาก เศรษฐกิจหดตัว ทำให้ผู้คนมีความต้องการมีลูกกันน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
ภาพที่ 1
หลังจากวิกฤตนั้นจำนวนการเกิดก็ไม่แทบฟื้นกลับมาอีกเลย เป็นไปตามแนวโน้มของประเทศที่เริ่มพัฒนาคือการมีการศึกษาที่สูงขึ้นทำให้การมีลูกถูกเลื่อนออกไปจากสมัยก่อนอายุ 15-18 ปีก็มีลูกกันแล้ว เมื่อการมีลูกถูกเลื่อนออกไปทำให้ความน่าจะเป็นที่จะมีลูกได้ 2 คนน้อยลงหรือทำให้มีลูกได้แค่ 1 คน การศึกษาทำให้รับรู้ว่าการมีลูกมากทำให้ลำบากทางฐานะเศรษฐกิจจนเกิดประโยคที่ว่า “มีลูกมากทำให้ยากจน” ค่าครองชีพที่สูงขึ้นก็ทำให้ความอยากมีลูกกันน้อยลง ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ชอบท่องเที่ยว ความบันเทิง ความสะดวกสบาย ไม่ชอบความลำบากและจำนวนคนโสดขึ้นคานตลอดชีวิตหรือรอสร้างฐานะจนไม่สามารถมีลูกได้ทีี่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้อัตราการเกิดลดน้อยลงไปอีก
มหาวิทยาลัยปิดตัวและการแข่งขันที่มากขึ้น
ด้วยการคาดการณ์ของผม นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในปีสองปีนี้ เมื่อมหาลัยมีรายได้ลดลงและไม่มีแนวโน้มที่จะมีเด็กมาสมัครเรียนเพิ่มขึ้นเลย มหาวิทยาอาจต้องลดต้นทุนด้วยการปลดคนได้แก่อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ออกด้วยวิธีการต่างๆ มหาวิทยาลัยชื่อดังจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการปลดอาจารย์ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เช่น โดดสอนบ่อย สอนไม่เก่งหรือไม่ค่อยมีความรู้ ขณะที่มหาวิทยาลัยชื่อไม่ดัง อาจารย์เก่งๆจะลาออกไปทำอย่างอื่นเพราะคาดการณ์ถึงรายได้และสวัสดิการที่น้อยลง เหลือแต่อาจารย์ที่ไม่ค่อยเก่งทำให้คุณภาพโดยรวมของมหาวิทยาน้อยลง สถานการณ์การปลดอาจารย์ออกจะรุนแรงอย่างยิ่งในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดที่มีชื่อเสียงน้อยและมีจ้างงานแบบสัญญาจ้างแบบรายปี
การลดต้นทุนอีกวิธีหนึ่งก็คือการ ปรับ-รวม-ยุบ คณะหรือสาขาเพื่อให้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน คณะหรือหลักสูตรที่มีเด็กเรียนน้อยไม่คุ้มกับการเปิดสอนอาจปิดตัวลง สนับสนุนสาขาวิชาที่เด็กชอบเรียน อย่างไรก็ตามการปรับตัวแบบนี้อาจส่งผลลบต่อคุณภาพการศึกษาได้ คือ สนับสนุนวิชาที่เด็กคิดว่าเรียนง่าย สอนง่ายแต่ไม่มีความต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้เด็กจบมามีแนวโน้มว่างงานมากขึ้น วิชาที่จำเป็นต่อประเทศแต่เรียนยากอาจถูกละเลย
การหารายได้อื่นนอกจากค่าเทอม เนื่องจากจำนวนเด็กไทยที่ลดลง มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมจะเริ่มมองหานักศึกษาต่างชาติมากขึ้น ได้แก่ นักศึกษาจีนและประเทศเพื่อนบ้านได้แก่กัมพูชาและพม่า หรือแม้แต่การไปเปิดสาขาวิทยาลัยที่ประเทศเพื่อนบ้าน มหาวิทลัยอาจหารายได้จากงานวิจัยมากขึ้น หรือเก็บค่าต๋งหรือส่วนแบ่งรายได้จากการทำวิจัยของบรรดาอาจารย์ในสัดส่วนที่มากขึ้น แต่ก็อาจทำให้อาจารย์เก่งๆไม่พอใจย้ายออกก็ได้
การแข่งระหว่างมหาลัยจะมีมากขึ้นทั้งระหว่างเอกชนกับเอกชนและระหว่างรัญและเอกชน จะมีการอัดโปรโมชันลดค่าเทอม เพิ่มทุนการศึกษาและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ มหาวิทยารัฐเริ่มรับนักศึกษาด้วยเงื่อนไขที่ง่ายขึ้น รับหลายรอบมากขึ้น ต้นทุนจากการลดปัจจัยแรงงานจะนำไปเพิ่มปัจจัยทุน ได้แก่ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมเช่นการตกแต่งอาคารเรียน ห้องสมุด ห้องน้ำ ต้นไม้สนามหญ้าให้ดูดีขึ้น เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ WiFi เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวของการศึกษาระดับประถม-มัธยมที่ปรับปรุงสภาพแวดล้อมดูดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น จนเกิดคำพูดที่ว่า “โรงเรียนพัฒนาเมื่อคุณจบออกไปแล้ว” อย่างไรก็ตามการปรับปรุงเหล่านี้เป็นแค่เปลือกนอก ไม่ได้ทำให้การศึกษามีคุณภาพขึ้นเลย
โดยภาพรวมมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คุณภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะบางอย่างจะสามารถประคับประคองให้อยู่รอดได้ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงน้อยจะประสบปัญหาทางการเงินจากการที่นักศึกษาไม่เพิ่มขึ้นและบุคลากรคุณภาพหนีหายและหากสายป่านไม่ยาวพออาจจะล้มละลายและปิดตัวในที่สุด
บางคนอาจคิดว่าเพิ่มการค่าเทอมหรือค่าหน่วยกิจอาจช่วยทดแทนรายได้ที่หายไปได้ แต่นั่นอาจจะเป็นความคิดที่ผิด นอกจากจะเป็นการผลักภาระให้กับผู้ปกครองหรือภาระหนี้การศึกษาของเด็กแล้ว การเพิ่มราคาหากความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสูง การเพิ่มราคาจะทำให้รายรับรวมลดลง ความยืดหยุ่นของอุปสงค์สูงหมายถึง สินค้าของคุณไม่ได้มีความแตกต่างจากของคนอื่นหรือหาสินค้ามาทดแทนได้ง่าย ถ้าค่าเทอมแพงก็เลือกไปเรียนที่อื่นก็ได้ การเพิ่มราคาอาจทำได้ในหลักสูตรมีชื่อเสียง มีคุณภาพ มีความแตกต่างหรือเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้นถ้าต้องการเพิ่มรายได้มหาวิทยาลัยควรเพิ่มที่คุณภาพ ไม่ใช่ราคา
ธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบ
การลดลงของนักศึกษาไม่ได้กระทบมหาวิทยาลัยอย่างเดียวแต่จะกระทบกับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวของกับมหาลัยหรืออยู่ใกล้อหมาลัยด้วย ได้แก่ หอพัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้ายถ่ายเอกสาร ร้านเกมส์ ร้านเหล้า เป็นต้น พอมีนักศึกษามาเรียนน้อยลงลูกค้าก็ลดลงตามไปด้วย แต่ก็อาจมีมุมที่ดีอยู่บ้างคือ หอพักอาจจะแข่งขันกันตกแต่งให้หอพักน่าอยู่มากขึ้น ราคาถูกลง แต่ก็อาจมีคุณภาพลดลงก็ได้จากการลดต้นทุนไม่ปรับปรุง ปล่อยให้เสื่อมโทรม หรือปล่อยให้ผู้เช่าอื่นที่คุณภาพไม่ดีมาอยู่มากขึ้น
อนาคตการศึกษา
ถึงแม้ดูจะน่าหดหู่แต่ในวิกฤตก็อาจมีโอกาส มหาวิทยาลัยอาจะแข่งขันกันสร้างหลักสูตรที่คุณภาพมากขึ้น ตอบสนองตลาดแรงงาน สร้างความแตกต่างและเชี่ยวชาญเฉพาะทาง สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและสร้างชื่อเสียงเพื่อดึงดูดนักศึกษาให้มาเรียน มหาลัยคุณภาพน้อยถูกตัดออกจากระบบไป ผมมองว่าคนน้อยลงก็ดีจะได้สามารถทุ่มเทตั้งใจปั้นนักศึกษาให้มีคุณภาพ มีความเชี่ยวชาญและแตกต่างเพื่อเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพแก่ประเทศชาติในอนาคต อย่างไรก็ตามภาครัฐกำกับดูแลไม่ให้เกิดผลตรงกันข้ามที่อาจทำให้การศึกษามีคุณภาพลดลง การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการศึกษา หรือการเลิกจ้างหรือสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย
ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/