พบฟอสซิลฟันของมนุษย์อายุมากกว่า 80,000 ปี ในประเทศจีน สั่นคลอนสมมติฐานการย้ายถิ่นจากแอฟริกา
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในเขตเต๋าเซี่ยน (Dào Xiàn) เมืองหย่างโจว (Yǒngzhōu) มณฑลหูหนาน (Húnán) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ฟันที่พบเป็นของมนุษย์สมัยใหม่ (Modern human) หรือมนุษย์ยุคปัจจุบัน มีอายุอย่างน้อย 80,000 ปี ซึ่งเกิดก่อนการย้ายถิ่นจากแอฟริกา 20,000 ปี
ก่อนหน้านี้ หลักฐานหลายชิ้นได้แก่ หลักฐานด้านพันธุกรรมและโบราณคดีบ่งชี้ว่ามีการย้ายถิ่นเมื่อ 60,000 ปีที่แล้ว มนุษย์รุ่นแรกๆอาศัยอยู่ตรงจะงอยแอฟริกา(Horn of Africa)ได้ข้ามทะเลแดงตรงช่องแคบ Bab-el-Mandeb ใกล้กับประเทศเยเมนในปัจจุบัน โดยอาศัยช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดลง โดยคนที่ไม่ใช่แอฟริกันได้แก่ชาวยุโรปหรือชาวเอเชียทั้งหลายในปัจจุบันนี้ถูกคาดว่ามาจากย้ายถิ่นออกจากแอฟริกานี้
ภาพเส้นทางการข้ามทะเลแดง

แต่การขุดค้นล่าสุดที่ถ้ำหินปูน Fuyan ในเขตเต๋าเซี่ยน เป็นบริเวณ 3 ตารางกิโลเมตรพบฟันของมนุษย์ 47 ซี่ ดูภาพ
“มันเห็นได้ชัดว่าเป็นฟันของมนุษยย์สมัยใหม่เมื่อดูจากลักษณะทางสัญฐานวิทยา (morphology) (ฟันมีขนาดเล็ก รากฟันผอม ครอบฟันแบน)สิ่งที่น่าประหลาดใจจากการค้นพบครั้งนี้ก็คืออายุของมัน” กล่าวโดย ดร.María Martinón-Torres จากมหาวิทยาลัย University College London (UCL) สหราชอาณาจักร ผู้ร่วมการศึกษาครั้งนี้ ร่วม Wu Liu and Xie-jie Wu จากสถาบันโบราณคดีและมนุษยบรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังในปักกิ่ง (the Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology in Beijing)
ฟอสซิลทั้งหมดฝังอยู่ในชั้นแคลไซต์(Calcite)ซึ่งเหมือนกับป้ายหลุมฝังศพที่ผนึกมันไว้อยู่ ดังนั้นฟันเหล่านี้จึงควรมีีอายุมากกว่าชั้นนั้น เหนือไปข้างบนเป็นหินงอกซึ่งถูกวัดอายุโดยใช้ยูเรเนียม (แทนที่การใช้การวัดอายุโดยคาร์บอนเนื่องจากฟอสซิลมีอายุมากกว่า 50,000 ปี) วัดได้ถึง 80,000 ปี หมายความว่าสิ่งที่อยู่ใต้ชั้นหินลงนี้ต้องมีอายุมากกว่า 80,000 ปี ฟันของมนุษย์เหล่านี้อาจมีอายุถึง 125,000 ปี
นอกจากนั้นฟอสซิลสัตว์เช่น ไฮยีน่า แพนด้ายักษ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่อยู่ใกล้กับฟอสซิสฟันของมนุษย์นี้ มีอยู่ทั่วไปในปลายยุค Pleistocene เป็นช่วงเดียวกับหลักฐานการวัดอายุจากสารกัมมันตรังสี ในบริเวณดังกว่าไม่พบเครื่องมือหินของมนุษย์ เป็นไปได้ว่ามนุษยย์ดังกล่าวไม่ได้อาศัยในถ้ำนี้แต่ถูกลากมาโดยสัตว์นักล่า
ฟอสซิลที่มีอายุก่อนการย้ายถิ่นจากแอฟริกาเป็นที่รู้กันมาบ้างแล้ว จากถ้ำ Skhul และถ้ำ Qafzeh ในประเทศอิสราเอล แต่ฟอสซิลเหล่านั้นเป็นส่่วนของการย้ายถิ่นล้มเหลวของมนุษย์สมัยใหม่ซึ่งอาจจะสูญพันธ์ุไป
“นักวิจัยบางคนได้เสนอแนวคิดที่ว่า มีการย้ายถิ่นก่อนหน้าในอดีต” กล่าวโดยกล่าวโดย ดร.María Martinón-Torres (น่าจะหมายถึงมีการย้ายถิ่นก่อนหน้าไปบางส่วนก่อนที่จะมีการย้ายถิ่นจากแอฟริกา – ผู้เขียน)
“เราจำเป็นต้องเข้าใจการย้ายถิ่นครั้งนี้ เราต้องค้นหาว่าการย้ายถิ่นครั้งนี้ล้มเหลวแล้วสูญพันธ์ุ หรือ การย้ายถิ่นครั้งนี้ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลูกหลานของมนุษย์ปัจจุบัน”
แผนที่มณฑลหูหนานในประเทศจีน

ศาสตราจารย์ Chris Stringer จากพิพิธพันธ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอนดอน (London’s Natural History Museum) กล่าวว่า การศึกษานี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองในถกเถียงเกี่ยวกับการขยายเผ่าพันธ์ุของมนุษย์
“นักวิจัยหลายคน(รวมถึง Chris Stringer) ได้เสนอว่าการย้ายถิ่นจากแอฟริกาก่อนหน้าไปยังพื้นที่เรียกว่าเลแวนท์(Levant: พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่บริเวณตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนได้แก่ประเทศ อิสราเอล ซีเรียน อิรักเป็นต้น) วัดช่วงอายุจากฟอสซิลจากถ้ำ Skhul และถ้ำ Qafzeh ได้ประมาณ 120,000 ปี เป็นการย้ายถิ่นที่ล้มเหลวซึ่งไปไม่ได้ไกลกว่าประเทศอิสราเอล”
“อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างฟันจำนวนมากที่เต๋าเซี่ยนดูเหมือนว่าจะเป็นฟันของมนุษย์สมัยใหม่อย่างแน่นอน สังเกตจากขนาดและลักษณะทางสัญฐานวิทยา” และมันถูกวัดอายุโดยวิธียูเรเนียม-ธอเรียม และเทียบเคียงกับฟอสซิลสัตว์ที่อยู่ใหล้เคียงทำให้ทราบว่ามีอายุอย่างน้อย 80,000 ปี เมื่อมองครั้งแรกนี่ดูเหมือนจะสอดคล้องกับการย้ายถิ่นก่อนหน้าไปยังตอนใต้ของเอเชียโดยประชากรที่คล้ายกันกับที่อยู่ในถ้ำ Skhul และถ้ำ Qafzeh แต่ ฟอสซิลที่เต๋าเซี่ยนดูจะคล้ายกับฟันมนุษย์มากกว่าของที่สองถ้ำนั้น ดังนั้นมันจะต้องเกิดวิวัฒนาการของชุดฟันที่รวดเร็วของประชากรพวก Skhul-Qafzeh ในเอเชียเมื่อประมาณ 80,000 ปีที่แล้ว หรือ ฟันที่เต๋าเซี่ยนจะเป็นของการย้ายถิ่นที่แยกออกมาต่างหาก”
ดร.María Martinón-Torres กล่าวว่าการศึกษาอาจจะเผยให้ทราบว่าทำไม Homo sapien ถึงใช้เวลาไปถึงเอเชียก่อนไปถึงยุโรปถึง 40,000-45,000 ปี
บางทีการมีชีวิตอยู่ของ Neanderthals(สายพันธ์ุที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ในยุโรปที่สูญพันธุ์ไปแล้ว) กีดกันสายพันธ์ุของเราออกจากส่วนตะวันตกสุดของยูเรชีย (Eurasia:พื้นที่ยุปโรปและเอเชีย) จนกระทั่งญาติทางวิวัฒนาการของเราเริ่มมีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม มันก็ยังเป็นไปได้ว่ามนุษย์สมัยใหม่ไม่ได้มีความเหมาะสมกับอากาศที่เยือกเย็นในยุคน้ำแข็งของยุโรป
เธอให้ข้อสังเกตุว่าขณะที่มนุษย์สมัยใหม่ครอบครองพื้นที่ทางใต้ของจีนที่อุ่นกว่าเมื่อ 80,000 ที่แล้ว ส่วนที่เย็นกว่าตรงภาคกลางและภาคเหนือของจีนอาจจะเป็นที่อยู่ของมนุษย์รุ่นก่อนกว่าที่อาจเป็นญาติเชื้อสายเอเชียของ Neanderthals
ประเทศจีนทางตอนใต้ยังมีถ้ำที่คล้ายๆกันอย่างนี้อีกหลายถ้ำ มันอาจทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของมนุษย์ยุคแรกๆเพิ่มขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือหิน หรือบางทีการค้นพบครั้งนี้อาจเป็นแค่ยอดของผู้เขาน้ำแข็งที่โผล่จากน้้ำ อาจจะมีอะไรให้พบมากขึ้นในอนาคตก็เป็นไปได้
รายละเอียดของการศึกษาครั้งนี้มีโครงร่างคร่าวๆในวารสาร Nature
แหล่งข้อมูล: Nature, BBC, Scientific American
ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/
เพิ่มเติมนะครับ พอดีไปเจอ channel ในยูทูปที่พูดถึงเริ่มนี้ด้วย เดี๋ยวว่างๆจะแปลให้เพิ่มเติมนะครับ