รวบรวมเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 – 2549

Posted on Updated on

เรื่องราวบางอย่างเราอาจลืมมันไปแล้ว บทความนี้อาจจะให้คุณนึกถึงเรื่องราวในอดีต ว่าเราได้ผ่านอะไรมาแล้วบ้าง สำหรับเหตุการณ์ก่อนหน้า ปี 2534 คลิ๊กที่นี่

ปี พ.ศ. 2534 

12 มกราคม 2534
– วันที่  สงครามอ่าวเปอร์เซีย: รัฐสภาแห่งอเมริกาอนุญาตให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากประเทศคูเวต

23 กุมภาพันธ์ 2534
– รัฐประหารในประเทศไทย: พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะ รสช. นำการก่อรัฐประหาร โค่นล้มรัฐบาลที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน

28 กุมภาพันธ์ 2534
– วันที่ 28 สงครามอ่าวเปอร์เซีย: จอร์จ บุช ประกาศหยุดยิง หลังอิรักยอมรับข้อเรียกร้อง 12 ข้อของ UN ยุติสงครามปลดปล่อยคูเวต ซึ่งกินเวลา 6 สัปดาห์

13 เมษายน 2534
– เปิดตัวซิทคอมครั้งแรกในประเทศไทย 3 หนุ่ม 3 มุม

26 พฤษภาคม 2534
– เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ประสบอุบัติเหตุระเบิดกลางอากาศและตกที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 223 คน เสียชีวิต

11 มิถุนายน 2534
– การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเปิดเดินขบวนรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ โดยใช้รถดีเซลรางรุ่น บริทิชเรล คลาส 158 ทำขบวน

2 สิงหาคม 2534
– องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เริ่มนำรถโดยสารครีม-แดง รวม 2,090 คัน และรถปรับอากาศ สีครีม-น้ำเงิน ยี่ห้อ Mercedes-Benz 800 คัน วิ่งให้บริการประชาชนเป็นวันแรก

10 สิงหาคม 2534
– พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาชาวไทยถูกฆ่าที่วัดพรหมคุณาราม เมืองฟีนิกซ์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา

2 กันยายน 2534
– จัดตั้งสถานีวิทยุจราจร จส.100

1-15 ตุลาคม 2534
– การประชุมของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ครั้งที่ 46 จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

22 ธันวาคม 2534
– เขาทราย แกแล็คซี่สร้างสถิติป้องกันแชมป์โลกได้มากที่สุดในเอเชียและป้องกันแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวทได้สูงสุดในโลกในวันนี้ ป้องกันแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์แบนตัมเวทของสมาคมมวยโลก(WBA)ครั้งที่ 19 ชนะคะแนน อาร์มันโด คัสโตร ที่สนามเทพหัสดิน

ปี พ.ศ. 2535 

1 มกราคม 2535
– ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

22 มีนาคม 2535
– มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรมของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง

13 เมษายน 2535
– การ์ตูนเรื่อง ชินจังจอมแก่น หรือ เครยอน ชินจัง ออกอากาศเป็นครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ ประเทศญี่ปุ่น

9 พฤษภาคม 2535
– นางงามจักรวาล การประกวดนางงามจักรวาลประจำปี 1992 จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

17 พฤษภาคม 2535
– พฤษภาทมิฬ: ทหารและประชาชนผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เริ่มปะทะกันอย่างรุนแรงบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม

18 พฤษภาคม 2535
– พฤษภาทมิฬ: พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้นำการประท้วง ถูกจับกุม ฝ่ายทหารเริ่มแผนไพรีพินาศ ใช้อาวุธกราดยิงประชาชนเพื่อสลายผู้ชุมนุมทั่วถนนราชดำเนิน

20 พฤษภาคม 2535
– พฤษภาทมิฬ: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ รับพระราชดำรัส ซึ่งนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของพลเอกสุจินดา

13 กันยายน 2535
– มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง

23 กันยายน 2535
– นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก สะพานพระราม 7 เปิดการจราจร

ปี พ.ศ. 2536 

2 กุมภาพันธ์ 2536
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”

16 มีนาคม 2536
– รัฐบาลไทยเปิดเสรีทางการเงินโดยการออกใบอนุญาตวิเทศธนกิจอย่างเป็นทางการ

22 มีนาคม 2536
– บริษัท Intel จำหน่าย Pentium ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรก “586”

10 พฤษภาคม 2536
– เพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาของบริษัท เคเดอร์ อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม ถนน พุทธมณฑลสาย 4 มี ผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน

24 พฤษภาคม 2536
– บริษัทไมโครซอฟท์เปิดตัว Window NT

22 กันยายน 2536
– ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret ออกอากาศเป็นครั้งแรก (ออกอากาศถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2537)

1 ธันวาคม 2536
– จัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดสระแก้ว

ปี พ.ศ. 2537 

4 มกราคม 2537
– ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พุ่งถึงจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,753.73 จุด

5 มกราคม 2537
– บิ๊กซี เปิดสาขาแรก บนถนนแจ้งวัฒนะ

4 กันยายน 2537
– ซีคอนสแควร์ เปิดทำการที่แรกของประเทศไทย

15 ธันวาคม 2537
– เปิดตัวโปรแกรมค้นดูเว็บ Netscape Navigator 1.0

ปี พ.ศ. 2538  

17 – 28 กุมภาพันธ์ 2538
– มหกรรมแสดงนิทรรศการ “บีโอไอแฟร์” เปิดฉากเป็นครั้งแรก ภายใต้แนวคิดก้าวไกลไทยทำ ที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

20 มีนาคม 2538
– ลัทธิโอมชินริเกียวก่อวินาศกรรม โดยการปล่อยแก๊สพิษซารินในรถไฟใต้ดิน กรุงโตเกียว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บมากกว่า 6,000

17 มีนาคม 2538
– ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เปิดทำการ

5 มิถุนายน 2538
– นักฟิสิกส์สังเคราะห์ของเหลวผลควบแน่นโบส-ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นสถานะใหม่ของสสารได้เป็นครั้งแรก

2 กรกฎาคม 2538
– การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 20 ผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทยได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่ง นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของไทย
-ไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์ 95

19 กันยายน 2538
– อุทกภัยครั้งใหญ่ พ.ศ. 2538

ปี พ.ศ. 2539 

10 กุมภาพันธ์ 2539
– “Deep Blue” คอมพิวเตอร์นักหมากรุก เอาชนะแกร์รี แคสพารอฟ นักหมากรุกรางวัลอินเตอร์แนชันแนลแกรนด์มาสเตอร์ และแชมป์โลกรายการเวิร์ลเชสส์แชมเปียนชิพ เป็นครั้งแรก

10 มีนาคม 2539
– พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

9 มิถุนายน 2539
– พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

4 สิงหาคม 2539
– สมรักษ์ คำสิงห์ คว้าเหรียญทองโอลิมปิกที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา นับเป็นนักกีฬาคนแรกของไทยที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก

6 สิงหาคม 2539
– องค์การนาซาประกาศการค้นพบหลักฐานรูปแบบของสิ่งมีชีวิตในอุกกาบาต ALH 84001

27 กันยายน 2539
– นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา ประกาศยุบสภา หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

6 ตุลาคม 2539
– ทางพิเศษฉลองรัช เปิดใช้อย่างเป็นทางการ

17 พฤศจิกายน 2539
– การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 21 ผลการเลือกตั้งพรรคความหวังใหม่ ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด

25 พฤศจิกายน 2539
– พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังชนะการเลือกตั้งทั่วไป

13 ธันวาคม 2539
– โคฟี อันนัน ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ (UN)

ปี พ.ศ. 2540

22 กุมภาพันธ์ 2540
– นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันรอสลินในสกอตแลนด์ ประกาศความสำเร็จในการโคลนแกะชื่อ “ดอลลี่”

2 พฤษภาคม 2540
– โทนี แบลร์ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร และนับเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในรอบ 185

14 พฤษภาคม 2540
– วิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย พ.ศ. 2540: ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยลงมติให้ดำเนินการแทรกแซงค่าเงินบาทโดยไม่จำกัดวงเงิน และใช้เงินมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 250,000 ล้านบาท เพื่อปกป้องค่าเงินบาทจากการโจมตีของนักเก็งกำไร

26 มิถุนายน 2540
– แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ นวนิยายเล่มแรกในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ออกวางจำหน่าย

1 กรกฎาคม 2540
– สหราชอาณาจักรส่งมอบฮ่องกงคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน

2 กรกฎาคม 2540
– วิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย พ.ศ. 2540: รัฐบาลไทยประกาศปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยน จากระบบตะกร้าเงินมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบกึ่งจัดการ ทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก

11 ตุลาคม 2540
– ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

6 พฤศจิกายน 2540
– พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

9 พฤศจิกายน 2540
– นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ต่อจาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

25 ธันวาคม 2540
– ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิค ภาพยนตร์ที่ทำเงินรายได้สูงสุดในโลก เปิดฉายเป็นวันแรกในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2541

4 มีนาคม 2541
– ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ออกอากาศเป็นครั้งแรก (ออกอากาศถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551)

7 มีนาคม 2541
-รายการสาระแนออกอากาศเป็นครั้งแรก ทางช่อง 3

12 เมษายน 2541
– กลุ่มทหารตาลีบันใช้ปืนใหญ่ยิงพระพุทธรูปบามิยัน

21 เมษายน 2541
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิด “ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี”

15 พฤษภาคม 2541
– องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เริ่มนำรถปรับอากาศยูโรทู (รุ่น 797 คัน) วิ่งให้บริการประชาชนเป็นวันแรก

21 พฤษภาคม 2541
– ผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจจนทำให้เกิดความวุ่นวายในอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตประกาศลาออก หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมานานถึง 32 ปี โดยให้นายยูซุฟ ฮาบีบี รองประธานาธิบดี ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3

25 มิถุนายน 2541
– บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่าย Windows 98

14 กรกฎาคม 2541
– วันก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

7 กันยายน 2541
– บริษัท Google ก่อตั้งขึ้นที่เมนโลพาร์ก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

25 กันยายน 2541
– วันสถาปนามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

17 ตุลาคม 2541
– กรมตำรวจได้รับการยกฐานะเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

26 ตุลาคม 2541
– พนักงานธนาคารกรุงเทพฯ ประมาณ 1,000 คน ชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อพนักงานที่ถูกเลิกจ้างตามมาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน (มาตรการ 14 สิงหา) พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

2 พฤศจิกายน 2541
– เกิดอุบัติเหตุธูปขนาดใหญ่ 3 ต้น ที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระร่วงโรจนฤทธิ์ในโอกาสครบรอบ 84 ปี หน้าองค์พระปฐมเจดีย์วัดพระปฐมเจดีย์วรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม ล้มทับประชาชนทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 5 คน บาดเจ็บ 13 คน

6-20 ธันวาคม 2541
– ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 มีนักกีฬาจาก 43 ประเทศเข้าร่วม

14 ธันวาคม 2541
– ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ 2 ประตูต่อ 1

ปี พ.ศ. 2542 

1 มกราคม 2542
– ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 11 ประเทศเริ่มใช้สกุลเงินยูโร

30 เมษายน 2542
– ประเทศกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

30 สิงหาคม 2542
– ชาวติมอร์ตะวันออก ลงประชามติแยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซีย

5 ธันวาคม 2542
– ระบบรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการครั้งแรก

15 ธันวาคม 2542
– องค์การสหประชาชาติ(UN) ประกาศให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก

20 ธันวาคม 2542
– โปรตุเกสส่งมอบมาเก๊าคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน

31 ธันวาคม 2542
– วลาดิมีร์ ปูติน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซีย หลังจากบอริส เยลต์ซิน ลาออกจากตำแหน่ง

ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

1 มกราคม 2543
– Y2K ผ่านไปได้ด้วยดี

กุมภาพันธ์ 2543
– การรั่วไหลของกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 จากเครื่องมือแพทย์เก่า ที่ถูกขโมยไปจากโกดังที่เขตประเวศ กรุงเทพ ไปขายให้พ่อค้าขายของเก่าที่ซอยวัดมหาวงศ์ อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ มีผู้เสียชีวิต 2 คน

4 มีนาคม 2543
– วันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย

10 สิงหาคม 2543
– ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยุติบทบาททางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี กรณีการแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ

1 กันยายน 2543
– รายการแฟนพันธุ์แท้ออกอากาศเป็นครั้งแรก

22 กันยายน 2543
– คดีซุกหุ้น: ร.ต. เสงี่ยม บุษบาบาน ยื่นหนังสือต่อปปช. ร้องทุกข์กล่าวโทษพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ว่าอาจแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จขณะเป็นรองนายกรัฐมนตรี

26 กันยายน 2543
– คดีซุกหุ้น: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน ร่วมกันทำหนังสือถึงอธิบดีกรมสรรพากร ขอให้ตรวจสอบการเสียภาษีของบุคคลที่ใกล้ชิดกับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งประกอบด้วยคนรับใช้ แม่บ้าน คนขับรถ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

21 ตุลาคม 2543
– โครงการวางท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย: เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้คัดค้านกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะมีการประชาพิจารณ์ โครงการโรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย ที่อาคารยิมเนเซี่ยม สนามกีฬาจิระนคร สนามกีฬากลางหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

31 ตุลาคม 2543
– ห้างไทยไดมารู ห้างสรรพสินค้าที่มีบันไดเลื่อนตัวแรกในประเทศไทย และสวนสนุกแดนเนรมิต ได้ปิดตัวลง

5-18 พฤศจิกายน 2543
– การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ประเทศไทย

9 พฤศจิกายน 2543
– ชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร

18 พฤศจิกายน 2543
– ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ครั้งที่ 3 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซียในรอบชนะเลิศ 4 ประตูต่อ 1

ปี พ.ศ. 2544 

1 มกราคม 2544
– ประเทศกรีซเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร

15 มกราคม 2544
– เปิดตัววิกิพีเดียภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ

20 มกราคม 2544
– จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อจาก บิล คลินตัน หลังชนะการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว

9 กุมภาพันธ์ 2544
– พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย

9 มีนาคม 2544
– ตาลีบันทำลายพระพุทธรูปบามิยันด้วยระเบิดไดนาไมต์

5 กรกฎาคม 2544
– องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ToT) ได้เปลี่ยนรูปแบบของหมายเลขโทรศัพท์ โดยการโทรในแต่ละครั้งจะต้องกดหมายเลขพื้นที่นำหน้า และเปลี่ยนจำนวนหลักของหมายเลขโทรศัพท์จาก 6 และ 7 หลัก เป็น 9 หลัก

6 สิงหาคม 2544
– ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้รับ รายงานสรุปประจำวันเตือนว่า โอซามา บิน ลาเดน อาจโจมตีสหรัฐฯ ในไม่ช้า

17 สิงหาคม 2544
– ภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างสูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ฉายเป็นวันแรก

11 กันยายน 2544
– วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544: ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสาร 3 ลำ เพื่อโจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ อาคารแฝดในนครนิวยอร์ก และอาคารเพนทากอน ที่ตั้งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในวอชิงตัน ดี.ซี. เครื่องบินลำที่ 4 ตกในมลรัฐเพนซิลเวเนีย มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้เกือบ 3,000 คน

15 ตุลาคม 2544
– องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เริ่มนำรถปรับอากาศยูโรทู (รุ่น 500 คัน) วิ่งให้บริการประชาชนเป็นวันแรก อย่างรถ HINO จำนวน 125 คัน

16 ตุลาคม 2544
– หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ของเนชั่นเป็นฉบับแรก ที่รวมข่าวสาร บันเทิง และ กีฬา

23 ตุลาคม 2544
– บริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ วางจำหน่ายไอพ็อด

25 ตุลาคม 2544
– บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์เอกซ์พี

2 พฤศจิกายน 2544
– กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

12 พฤศจิกายน 2544
– กองกำลังตาลีบันผละออกจากคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ก่อนที่ทหารพันธมิตรฝ่ายเหนือจะเดินทางไปถึง

16 พฤศจิกายน 2544
– แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ภาพยนตร์ตอนแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เปิดฉาย มีรายได้รวม 975.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับ 2 จากการเปิดฉายทั่วโลก

11 ธันวาคม 2544
– สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หลังจากการเจรจานาน 15 ปี

ปี พ.ศ. 2545 

19 มกราคม 2545
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1 กันยายน 2545
– ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก

20 กันยายน 2545
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดสะพานพระราม 8 เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

30 กันยายน 2545
– เกม Ragnarok Online เปิดให้บริการในประเทศไทยโดยบริษัทเอเซียซอฟต์ (AS)

3 ตุลาคม 2545
– วันก่อตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

5 พฤศจิกายน 2545
– ราษฎรในจังหวัดหนองคายประมาณ 2,000 คน ชุมนุมกันบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ อำเภอเมืองหนองคาย เพื่อประณามสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV) ที่นำเสนอในรายการถอดรหัสว่าปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค เกิดจากการกระทำของคนในประเทศลาว

15 พฤศจิกายน 2545
– หู จิ่น เทา ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน

16 พฤศจิกายน 2545
– พบการระบาดครั้งแรกของโรคซาร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปี พ.ศ. 2546

29 มกราคม 2546
– ข่าวลือในกัมพูชาที่ว่า สุวนันท์ คงยิ่ง ดารานักแสดงไทยขวัญใจชาวกัมพูชา กล่าวว่านครวัดเป็นของไทย เป็นเหตุให้เกิดจลาจล มีการบุกเผาสถานทูตไทยและอาคารพาณิชย์ที่คนไทยเป็นเจ้าของ ในกรุงพนมเปญ รัฐบาลส่งเครื่องบินลำเลียงซี-130 ไปรับคนไทยกว่า 500 คนกลับประเทศ ปิดด่านชายแดน ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต และเรียกร้องให้กัมพูชาชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหาย

1 กุมภาพันธ์ 2546
– รัฐบาลไทยเริ่มสงครามต่อต้านยาเสพติด
– กระสวยอวกาศโคลัมเบียขององค์การนาซา ระเบิดเหนือเท็กซัส ระหว่างการเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศโลก ในเที่ยวบิน เอสทีเอส-107 คร่าชีวิตนักบิน 7 คน

15 มีนาคม 2546
– หู จิ่นเทา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีน ต่อจากนายเจียง เจ๋อหมิน

20 มีนาคม 2546
– สหรัฐอเมริกาประกาศเริ่มสงครามอิรัก

17 พฤษภาคม 2546
– โปรแกรมค้นดูเว็บที่ขณะนี้ใช้ชื่อว่า มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ เปลี่ยนชื่อจาก ฟีนิกซ์ เป็น ไฟร์เบิร์ด

22 พฤษภาคม 2546
– สภาผู้แทนราษฎร ลงมติให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตยแห่งชาติ

1-6 กรกฎาคม 2546
– การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2003 ที่ประเทศมาเลเซีย

4 สิงหาคม 2546
– ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย ทำผลงานดีที่สุดในชีวิตด้วยการขึ้นเป็นมืออันดับ 9 ของโลก

28 กันยายน 2546
– ทหารไทยชุดที่ 2 ออกเดินทางไปประเทศอิรัก ปฏิบัติหน้าที่บูรณะฟื้นฟูและช่วยเหลือประชาชนชาวอิรัก ณ เมืองคาบารา

8 ตุลาคม 2546
– เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 3 ของรัฐสภา เอกสารของคณะกรรมาธิการ อุปกรณ์สำนักงานและเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งได้รับความเสียหาย ห้องประชุมดังกล่าวใช้เป็นที่เก็บเอกสารคดีการเสียชีวิตของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร(พรรคประชากรไทย)
– นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะ แถลงผลการวิจัยบั้งไฟพญานาค ที่มักเกิดขึ้นในวันออกพรรษาบริเวณกลางแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ว่าทีมนักวิจัยสรุปว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

19-21 ตุลาคม 2546
– ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี ค.ศ. 2003

13 ธันวาคม 2546
– ซัดดัม ฮุสเซน ถูกจับกุมโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกา

27 ธันวาคม 2546
– กำเนิดบทความแรก (ดาราศาสตร์) ในวิกิพีเดียภาษาไทย

31 ธันวาคม
– ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำสถิติเพิ่มขึ้นสูงสุดในโลกเมื่อเทียบกับปีก่อน (+116%)

ปี พ.ศ. 2547

4 มกราคม 2547
– คนร้ายเผาโรงเรียนในพื้นที่จ.นราธิวาส 20 แห่ง รวม 11 อำเภอ และยังบุกเข้าไปยึดค่าย ร.5 พันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง อ.เจาะไอร้องจ.นราธิวาส ยิงทิ้งทหาร 4 นายพร้อมยึดอาวุธปืนในคลังแสงอีกราว 100 กระบอก

22 มกราคม 2547
– สหภาพยุโรประงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากไทย ขณะที่ไข้หวัดนกกำลังระบาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

18 กุมภาพันธ์ 2547
– มีผู้เสียชีวิตในประเทศไทย 7 คนแล้วจากการติดเชื้อไข้หวัดนก
4 มิถุนายน 2547
– ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์(็Harry Potter) ตอน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน เปิดฉายรอบปฐมทัศน์

16 มิถุนายน 2547
– จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเมืองไทยยุค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและเส้นโลหิตในสมองแตก

3 กรกฎาคม 2547
– ระบบรถไฟฟ้ามหานคร เริ่มเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ

26 กรกฎาคม 2547
– วันรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นวันแรก

29 สิงหาคม
– วันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผลการเลือกตั้ง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครหมายเลข 1 จากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนมากที่สุดกว่า 9 แสน ได้เป็นผู้ว่า ฯ ไป
– วรพจน์ เพชรขุ้ม ขึ้นชิงเหรียญทองโอลิมปิกมวยสากลสมัครเล่นในรุ่นแบนตั้มเวท พบกับ กิลเยอร์โม ออร์ติส ริกอนโดว์ จากคิวบา ผลการชก วรพจน์แพ้ไป 22:12 หมัด ได้ครองเหรียญเงิน

25 ตุลาคม 2547
– เหตุการณ์ที่ตากใบ: เกิดเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมหลายร้อยคน หน้า สภ.อ.ตากใบ ตำบลตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หลังสลายการชุมนุมแล้ว มีผู้เสียชีวิต 4 คน และเจ้าหน้าที่ได้ส่งผู้ชุมนุมจำนวนมากขึ้นรถบรรทุก หลังจากนั้นพบว่ามีผู้ชุมนุมอีก 78 คน เสียชีวิตบนรถเนื่องจากขาดอากาศหายใจ

9 พฤศจิกายน 2547
– เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์ Mozilla Firefox 1.0

14 พฤศจิกายน 2547
– ตัวแทนอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัยเข้าพบนายกรัฐมนตรี ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลกรณีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเสนอให้นายกรัฐมนตรีกล่าวคำขอโทษต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ตากใบ ใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหา และใช้หลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น โดยเสนอให้ร่วมกันก่อตั้ง “คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ” เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย

26 ธันวาคม 2547
– เหตุการณ์แผ่นดินไหวมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ขนาด 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ซัดเข้าฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดียอาทิ ศรีลังกา, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไทย รวมถึงชายฝั่งบางส่วนของทวีปแอฟริกา มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 229,866 คน โดยในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตถึง 5,395 คน

ปี พ.ศ. 2548

6 กุมภาพันธ์ 2548
– พรรคไทยรักไทย ของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย (ผล ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ได้ที่นั่งในระบบแบ่งเขต 309 คน ในระบบบัญชีรายชื่อ 68 คน)

16 กุมภาพันธ์ 2548
– พิธีสารเกียวโตเริ่มมีผลบังคับใช้

20 กุมภาพันธ์ 2548
– ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบ่งโซนเป็น 3 สีของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อน ในความพยายามแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

23 กุมภาพันธ์ 2548
– ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตือนรัฐบาลว่านโยบายแบ่งโซนตามระดับความร่วมมือกับกองกำลังรักษาความปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ แสดงให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติ ผิดหลักความเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ ขัดหลักสิทธิมนุษยชน สร้างการเหยียดทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม แทนที่จะเคารพส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน ท้ายสุดจะเป็นเหตุให้ต่างประเทศมองเป็นนโยบายแบ่งแยกชาติพันธุ์ เพื่อกวาดล้างทำลาย และจะถือสิทธิเข้าแทรกแซงได้

27 กุมภาพันธ์ 2548
-นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กระตุ้นให้ประชาชนใช้สันติวิธีในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจรัฐบาลพรรคเดียว ระหว่างการกล่าวปาฐกถาพิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากสถาบันหลักทั้งสามของการเมืองไทย คือ นักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน ชนชั้นกลาง และสื่อมวลชน ล้วนอ่อนแอลงและไม่สามารถคานอำนาจรัฐได้ ชนชั้นกลางอ่อนแอเพราะเป็นชนชั้นกลางที่เกิดจากการรับผลประโยชน์ สื่อมวลชนอ่อนแอและถูกกดดันให้ยอมอ่อนข้อต่อรัฐบาลเพื่อความอยู่รอด และไม่สามารถรายงานข่าวการทุจริตและวิเคราะห์การเมืองอย่างเจาะลึกได้

18 มีนาคม 2548
– คณะสงฆ์จากทั่วประเทศกว่า 5,000 รูป รวมตัวกันที่หน้า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อคัดค้านการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ “เบียร์ช้าง”

18 มีนาคม 2548
– ศาลอาญา สืบพยานโจทก์ คดีนายสมชาย นีละไพจิตรหายตัว. ส่วนตำรวจจำเลย เข้าฟังการสืบคดีพร้อมกันทั้ง 5 นาย

1 พฤษภาคม 2548
– กลุ่มพูโลเก่ากับกลุ่มพูโลใหม่รวมตัวกันอีกครั้ง

3-7 พฤษภาคม
– การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2005 ณ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก กรุงเทพมหานคร

7 พฤษภาคม 2548
– ทีมฟุตซอลทีมชาติไทยได้รับตำแหน่งชนะเลิศจากการแข่งขันรายการฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2005 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตซอลทีมชาติมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศ 5 ประตูต่อ 1

19 พฤษภาคม 2548
– ภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3 : ซิธชำระแค้น เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ เป็นการปิดตำนานมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของจอร์จ ลูคัสที่เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520

17 มิถุนายน 2548
– ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน บีกินส์ เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ในสหรัฐอเมริกา

4 กรกฎาคม 2548
– ยานดีปอิมแพกต์ขององค์การนาซายิงวัตถุพุ่งชนดาวหางเทมเพล 1 ทำให้เกิดหลุมเพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวหาง

18 กรกฎาคม 2548
– เริ่มออกอากาศเรียลลิตี้โชว์ รายการ ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 2 ประเทศไทย ถ่ายทอดสด 24 ชั่วโมง

2 สิงหาคม 2548
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่ 17 ตำแหน่ง

14-16 สิงหาคม 2548
– เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่

2 กันยายน 2548
– คัทลียา แมคอินทอช ดาราและพิธีกรหญิงชื่อดัง แถลงข่าวยอมรับว่าท้องได้ 5 เดือนแล้ว หลังจากมีข่าวลือเกี่ยวกับเรื่องนี้มานาน ซึ่งเป็นการท้องโดยที่ยังไม่ได้สมรส ข่าวนี้นับเป็นข่าวสังคมที่ครึกโครมในเวลานั้

9 กันยายน 2548
– จิตรลดา ตันติวาณิชยสุข หรือ เป็ด หญิงสาวโรคจิตเภทไล่แทงเด็กนักเรียนโรงเรียนเซนโยเซฟ สีลม 4 คน บาดเจ็บปางตาย ในโรงเรียนตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ข่าวนี้เป็นข่าวอาชญากรรมที่ครึกโครมมากในขณะนั้น
– รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทางทางช่อง 9 อสมท. เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จัดรายการได้อ่านบทความเรื่อง “ลูกแกะหลงทาง” ซึ่งเป็นเหตุให้ทาง บมจ.อ.ส.ม.ท. ใช้อ้างถอดรายการออกจากผังในสัปดาห์ต่อมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

12 กันยายน 2548
– ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ เปิดทำการ

18 พฤศจิกายน 2548
– ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

25 พฤศจิกายน 2548
-5 ธันวาคม – การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 23 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

ปี พ.ศ. 2549 

13 มกราคม 2549
– เกิดเหตุวุ่นวายหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อผู้ชุมนุมหลายพันคน เดินทางจากสวนลุมพินีไปขับไล่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งก่อนหน้านั้น ได้เกิดเหตุกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ปะทะกับกลุ่มผู้ชมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี

4 กุมภาพันธ์ 2549
– นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้นำชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

11 กุมภาพันธ์ 2549
– มีการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกครั้งที่ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อมกับเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

24 พฤษภาคม 2549
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยุบสภา ตามที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำความกราบบังคมทูลฯ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน

26 กุมภาพันธ์ 2549
– พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรก เพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

28 กุมภาพันธ์ 2549
– 3 พรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, พรรคมหาชน มีมติร่วมกันไม่ลงเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน

14 มีนาคม 2549
– เวลาประมาณ 7.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนย้ายที่ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี จากสนามหลวงไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยประมาณจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุม 3 แสนคน

26 มีนาคม 2549
– พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินขบวนเพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนจากสนามกีฬาแห่งชาติไปยังสี่แยกราชดำริ และบางส่วนได้เดินเลยไปที่ห้างเอ็มโพเรี่ยมด้วย

29 มีนาคม 2549
– พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ห้างสยามพารากอ

31 มีนาคม 2549
– กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้างและผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปที่อาคารบ้านพระอาทิตย์ ที่ทำการ น.ส.พ.ผู้จัดการ แต่ถูกพนักงานผู้จัดการและผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงขับไล่ออกไป

2 เมษายน 2549
– การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549

4 เมษายน 2549
– หลังเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมขอโทษประชาชน 16 ล้านคนที่ลงคะแนนให้พรรคไทยรักไทย โดยเหตุผลหลักคือเพื่อความสมานฉันท์ของชาติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

7 เมษายน 2549
– พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งสุดท้าย

19 เมษายน 2549
– การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549

8 พฤษภาคม 2549
– นายอุระ หวังอ้อมกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าที่ประชุมลงมติให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 6 เสียง และควรให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 5

27 มิถุนายน 2549
– คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง มีมติเป็นเอกฉันท์ให้อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณายุบพรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคไทยรักไทย กรณีฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง

20 กรกฎาคม 2549
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 15 ตุลาคม

25 กรกฎาคม 2549
– ศาลอาญาพิพากษาจำคุก คณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน คนละ 4 ปี และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง คนละ 10 ปี โดยไม่รอลงอาญาเนื่องจากมีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณี กกต.ออกหนังสือเวียนถึง กกต.เขตที่จัดให้มีการเลือกตั้งรอบใหม่ ในวันที่ 22 เม.ย. ว่าสามารถรับผู้สมัครที่ย้ายมาจากเขตอื่นได้ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเวียนเทียนผู้สมัคร

19 สิงหาคม 2549
– มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และผู้สนับสนุน ที่ห้างสยามพาราก้อน

21 สิงหาคม 2549
– มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และผู้สนับสนุน ที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บจนต้องนำส่งโรงพยาบาลเป็นชายวัย 60 ปี และมีการทำร้ายร่างกายผู้ขับไล่หลายคน

24 สิงหาคม 2549
– ตรวจพบวัตถุระเบิดในรถต้องสงสัยใกล้บ้านรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยสามารถกู้ระเบิดได้ โดยผู้เชี่ยวชาญบอกว่าถ้าเกิดระเบิดจะมีรัศมีทำลาย 1 ก.ม.

31 สิงหาคม 2549
– เกิดเหตุการณ์วางระเบิดธนาคาร พร้อมกัน 22 แห่งในจ.ยะลา

1 กันยายน 2549
– เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย เปลี่ยนจาก 9 หลัก เป็น 10 หลัก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

8 กันยายน 2549
– ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกกกต.ชุดใหม่ ประกอบด้วย นายประพันธ์ นัยโกวิท, นายสุเมธ อุปนิสากร, นายอภิชาต สุขัคคานนท์, นายสมชัย จึงประเสริฐ และนางสดศรี สัตยธรรม ส่วนนายแก้วสรร อติโพธิ ที่ไม่ได้รับเลือก กล่าวว่าจะขอสมัครเป็นเลขาธิการ กกต.
กันยายน
– พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินไปมหานครนิวยอร์ก เพื่อร่วมประชุมสหประชาชาติ

13 กันยายน 2549
– พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวเรื่องที่ว่าอาจมีรัฐประหาร และชี้ว่าเป็นการปล่อยข่าวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร

14 กันยายน 2549
– ที่ประชุมกกต. มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก นายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นประธาน กกต.

15 กันยายน 2549
– รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง จัดใหญ่เป็นวาระครบรอบ 1 ปี รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้แถลงข่าว ประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน

19 กันยายน 2549
– เกิดรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นำโดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน มีการยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร

28 กันยายน 2549
– ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ

1 ตุลาคม 2549
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และแต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

3 ตุลาคม 2549
– พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

9 ตุลาคม 2549
– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

18 ตุลาคม 2549
– ไมโครซอฟท์เปิดให้ดาวน์โหลด อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7 (IE 7)

1 พฤศจิกายน 2549
– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เปิดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 บนพื้นที่ 470 ไร่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จ.เชียงใหม่

5 พฤศจิกายน 2549
– ศาลอิรักพิพากษาประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ อดีตประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซนในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

1 ธันวาคม 2549
– พิธีเปิดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ (พิธีปิดวันที่ 15 ธันวาคม)

4 ธันวาคม 2549
– ปวีณา ทองสุก ได้เหรียญทองจากการแข่งขันยกน้ำหนักในเอเชียนเกมส์ พร้อมทั้งทำลายสถิติโลก (สู้โว้ย)

16 ธันวาคม 2549
– สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน สละราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ใหม่

20 ธันวาคม
– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) พร้อมกับนายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศของลาว

30 ธันวาคม
– ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยได้รับตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 37 หลังจากเอาชนะทีมชาติเวียดนามในรอบชิงชนะเลิศ 3 ประตูต่อ 1

31 ธันวาคม
– เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี

ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป 

ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/

ใส่ความเห็น