การต่อสู้กับโรคมาลาเรียทำให้ค้นพบการรักษามะเร็งโดยบังเอิญ
มาลาเรียเป็นโรคในเลือดที่เกิดจากปรสิต Plasmodium มันแพร่กระจายไปสู่มนุษย์ผ่านทางการกัดของยุง ตามการรายงานของ UNICEF มาลาเรียได้ฆ่าชีวิตของผู้คนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี มาลาเรียเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหญิงตั้งครรภ์ซึ่งปรสิตสามารถโจมตีรกของหญิงตั้งครรภ์ และทำให้ชีวิตทารกตกอยู่ในความเสี่ยง
ภาพปรสิต Plasmodium จากน้ำลายของยุงเพศเมีย

ล่าสุุดกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์คจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ค และมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (University of British Columbia: UBC) ประเทศแคนาดา ค้นพบสิ่งที่จะมาใช้ในนการรักษามะเร็ง
ด้วยความร่วมมือของนักวิจัยด้านมะเร็ง Mads Daugaard จากมหาวิทาลัยบริติชโคลัมเบียนักวิจัยด้านมาลาเรีย และศาสตราจารย์ Ali Salanti จากคณะแพทย์ศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Faculty of Medical Health and Sciences) มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยให้เห็นว่าคาร์โบไฮเดรทที่ปรสิตมาลาเรียใช้ติดตัวเองเข้ากับรกของหญิงตั้งครรภ์นั้นเหมือนกับคาร์โบไฮเดรทที่พบในเซลล์มะเร็ง
ภาพรกในครรภ์

ในห้องแลปการทดลอง กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้สร้างโปรตีนที่ปรสิตมาลาเรียใช้ในการเกาะติดกับรกและปล่อยสารพิษออกมา ด้วยการรวมกันระหว่างโปรตีนมาลาเรียและสารพิษจะออกค้นหาเซลล์มะเร็งและจะปล่อยสารพิษเข้าไปข้างในเซลล์ จากนั้นเซลล์มะเร็งก็ตาย กระบวนการนี้ได้ถูกอธิบายในวารสาร Cancer Cell
“เป็นเวลาหลายสิบปีที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาความเหมือนกันระหว่างการเติบโตของรกและเนื้องอก รกในเป็นอวัยวะในร่างกายซึ่งเติบโตโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนจากเซลล์จำนวนนิดเดียวไปเป็นไปเป็นอวัยวะหนัก 2 ปอนด์ และทำหน้าให้ออกซิเจนและอาหารแก่เซลล์ตัวอ่อนหรือเอมบริโอ (embryo) ขณะที่เนื้องอกก็มีลักษณะแบบนี้เช่นกันคือ มันเติบโตอย่างรวดเร็ว” กล่าวโดย Ali Salanti แผนกภูมิคุ้มกันวิทยาและจุลชีววิทยา (Immunology and Microbiology) มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
ทีมของ Ali Salanti กำลังทดสอบวัคซีีนต่อต้านมาลาเรียในมนุษย์และมันก็เชื่อมโยงกับการพัฒนายาต่อต้านมะเร็งด้วยกลไลที่เขาค้นพบ
Ali Salanti ได้ติดต่อเพื่อนนักเรียนเก่าที่ปัจจุบันเป็นนักวิจัยด้านมะเร็งแล้วคือ Mads Daugaard ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของห้องแลปทดลองพิยาธิวิทยาเชิงโมเลกุล (Laboratory of Molecular Pathology) ที่ศูนย์ต่อมลูกหมากแวนคูเวอร์ (Vancouver Prostate Center) มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ด้วยความร่วมมือกันทีมวิจัยสองทีมนี้ได้สร้างผลลัพธ์ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะพื้นฐานสำหรับยาต้านมะเร็งต่อไป
“เราได้ทดสอบการทำงานของคาร์โบไฮเดตร คาร์โบไฮเดตรช่วยเสริมสร้างให้รกเจริญเติบโตเร็วขึ้น การทดลองของเราแสดงให้เห็นว่ามันก็เหมือนกันกับเนื้องอกมะเร็ง เรารวมปริสิตมาลาเรียกับเซลล์มะเร็ง และปริสิตก็มีปฏิกิริยากับเซลล์มะเร็งที่เหมือนกับที่มันทำกับรก” Ali Salanti อธิบาย
ด้วยความร่วมมือกัน ทีมวิจัยสองกลุ่มได้ทดสอบตัวอย่างหลายพันตัวอย่าง ตั้งแต่เนื้องอกในสมองจนถึงลูคีเมีย ปรากฎว่าโปรตีนมาลาเรียสามารถโจมตีได้มากกว่าร้อยละ 90 ของประเภทของเนื้องอกทั้งหมด
ตัวยาได้ถูกทดสอบกับหนูที่ได้ถูกปลูกฝังเนื้องอกของมนุษย์ 3 ชนิด
- สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ใช่ชนิดฮอดจ์กิน (non-Hodgkin’s lymphoma) เนื้องอกในหนูทดลองมีขนาดเหลือ 1 ใน 4 ของหนูในกลุ่มควบคุม
- สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื้องอกในหนู 2 ตัวจาก 6 ตัวหายไปหลังจากได้รับตัวยาชุดแรก
- สำหรับมะเร็งที่แพร่กระจายในกระดูก (metastatic bone cancer) หนูทดลอง 5 ตัวจาก 6 ตัวมีชีวิตอยู่ได้หลังจาก 8 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่มีหนูตัวใดรอดเลย
“เราได้แยกโปรตีนมาลาเรียออกมา มันได้ติดตัวเองเข้ากับเนื้องอกโดยปราศจากการติดเข้ากับเนื้อเยื่อชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญ หนูที่ได้รับโปรตีนและพิษหลายชุดมีอัตราการอยู่รอดที่สูงขึ้น
“เราได้เห็นแล้วว่าตัวยา 3 ชุดสามารถยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกได้ และยังทำให้มีขนาดเล็กลง” กล่าวโดย Thomas Mandel Clausen นักศึกษาปริญญาเอกผู้ร่วมการวิจัยและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยใน 2 ปีล่าสุด
“แต่มันก็มีอุปสรรคที่ว่าการรักษานี้จะไม่สามารถใช้ได้กับหญิงตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากพิษจะทำลายทั้งรก และเนื้องอก” Ali Salanti กล่าว
ด้วยความร่วมมือกับเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังการค้นพบครั้งนี้ มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนได้สร้างบริษัทเทคโนชีวะ VAR2pharmaceuticals ซึ่งจะผลักดันไปสู่การทดลองเชิงคลินิกในอนาคต ทีมวิจัยที่ทำงานร่วมกันกับ Ali Salanti และ Mads Daugaard ตอนนี้กำลังร่วมกันทำงานเพื่อนำไปสู่การทดสอบในมนุษย์
“ช่วงทดสอบที่เร็วที่สุดที่เป็นไปได้ในอนาคตคืออีก 4 ปีข้างหน้า คำถามที่สำคัญที่สุดคือ มันจะสามารถทำงานในร่างกายของมนุษย์ได้หรือไม่และมันจะมีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรามองโลกในแง่ดีเพราะว่าโปรตีนดูเหมือนว่ามันจะติดตัวมันเองกับคาร์โบไฮเดตรที่พบเฉพาะในรกและเนื้องอกมะเร็งเท่านั้น” Ali Salanti กล่าว
ที่มา: Cancer Cell, University of Copenhagen, Medical Daily