ค้นพบซากฟอสซิลฟันและขากรรไกรของโฮมินินสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

Posted on Updated on

พบซากฟอสซิลฟันและขากรรไกรของโฮมินิน(สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากกว่าลิง)สายพันธุ์ใหม่ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์หรือเป็นญาติของมนุษย์ยุคโบราณในภาคเหนือของประเทศเอธิโอเปีย โดยพบฟันและขากรรไกที่เป็นของสิ่งชีวิตอย่างน้อย 3 ตัว แต่ไม่พบชิ้นส่วนอื่นๆ ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่ามันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ “ลูซี่” หรือออสตราโลพิเธคัส อะฟาเรนซิส (Australopithecus afarensis) การค้นพบนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature

คลิ๊กเพื่อดูภาพฟอสซิลฟันและขากรรไกร ที่นี่ 1 2 3

สายพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Australopithecus deyiremeda โดยชื่อสายพันธุ์ deyiremeda มาจากภาษา Afar ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นในเอธิโอเปีย มีความหมายว่า “ใกล้ชิด” และ “ญาติ” Australopithecus deyiremeda มีชีวิตอยู่ช่วง 3.5-3.3 ล้านปีที่แล้ว โดยพบห่างออกไปทางเหนือเพียง 35 กิโลเมตรจากแหล่งโบราณคดี Hadar ที่เป็นที่อยู่ของฟอสซิลลูกซี่และออสตราโลพิเธคัสชนิดอื่นๆ ออสตราโลพิเธคัส อะฟาเรนซิสมีอายุประมาณ 3.7-3.0 ล้านปี เป็นไปได้ว่าทั้งสองสายพันธ์อาจะมีความคาบเกี่ยวกัน

การค้นพบแสดงให้เห็นว่าโฮมินิินได้ตระเวณไปทั้วแอฟริกามากกว่า 3 ล้านมีมาแล้ว นอกจากนั้นยังมีสายพันธ์ุ Kenyanthropus platyops ซึ่งอยู่ประเทศเคนยาที่อยู่ทางใต้ของประเทศเอธิโอเปียก็มีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ด้วย ทำให้เกิดคำถามว่าสายพันธุ์ไหนที่ให้กำเนินสกุลโฮโม (Homo) (มนุษย์เราอยู่ในสกุล Homo มีหลักฐานว่ามีจุดเริ่มต้นประมาณ 2.5 ล้านปีีก่อน ขณะนี้สายพันธุ์ Homo sapiens หรือมนุษย์ปัจจุบัน เพิ่งจะมีในช่วง 200,000 ปีก่อน) กล่าวโดย Yohannes Haille-Selassie นักมนุษยบรรพชีวินวิทยา (palaeoanthropologist) แห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์คลีฟแลนด์ (Cleveland Museum of Natural History) รัฐโอไฮไอ

ภาพฟอสซิลของลูซี่ที่พบในแหล่งโบราณคดี Hadar

248px-Lucy_blackbg
ภาพจาก Wilkipedia / CC BY-SA 3.0

ฟอสซิล Kenyanthropus platyops ในประเทศเคนยา

Kenyanthropus_platyops,_skull_(model)
ภาพโดย ing. Pavel Švejnar / CC BY-SA 4.0

ในตอนแรกทีมวิจัยไม่ได้ทราบถึงความสำคัญของซากขากรรไกรบนและล่างที่พบในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งควรจะเป็นวันเสร็จสิ้นฤดูกาลการลงพื้นที่สำรวจพื้นที่แห้งแล้ง Woranso-Mille ในตอนเหนือของเอธิโอเปีย

เนื่องจากมันพบอยู่ใกล้แหล่งโบราณคดี Hadar ซึ่งเป็นที่อยู่ของลูซี่ ทีมวิจัยจึงคาดว่าเป็นของสายพันธุ์ออสตราโลพิเธคัส อะฟาเรนซิส แต่การตรวจสอบเพิ่มเติบพบว่าขากรรไกรล่างมีขนาดใหญ่กว่า (beefier) แต่มีฟันหน้าที่เล็กกว่าและมีความคล้ายคลึงกับสกุลมนุษย์มากกว่าสายพันธุ์ที่พบในแหล่งโบราณคดี Hadar

“เราเชื่อว่ามันแตกต่างจากสายพันธุ์ที่เราเคยพบมา” Haille-Selassie กล่าว และทีมวิจัยหวังว่าจะสามารถเชื่อมโยงความเกียวข้องของกระดูกขากรรไกรของ Australopithecus deyiremeda กับฟอสซิลเท้าที่ยังไม่สามารถระบุสายพันธุ์ใน Woranso-Mille

Haille-Selassie กล่าวว่า มันไม่น่าประหลาดในเลยที่โฮมินินหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันออกเมื่อประมาณ 3.5 ล้านปีที่แล้ว

Fred Spoor นักมนุษยบรรพชีวินวิทยาแห่ง University College London ผู้เคยเขียนบทความใน Nature คาดว่าทั้งสองสายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตไปพร้อมกันได้เพราะว่าไม่ได้แข่งขันทางตรงด้านอาการ ที่พักแลละอาณาเขต ขากรรไกรที่แตกต่างกันของ Australopithecus deyiremeda และ Australopithecus afarensis อาจจะแสดงถึงการกินอาหารที่แตกต่างกัน แต่ด้วยเหตุที่มีหลักฐานรับรองน้อย Spoor เตืือนว่าอาจเป็นการด่วนสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ุของทั้งสองสายพันธุ์เกินไป “เราอย่าเพิ่งคิดว่าพวกมันยืนอยู่ที่แม่น้ำ Awash จับมือทักทายและพูดว่า เองมาทำอะไรที่นี่ ”

แหล่งข้อมูล natureabcwashingtonpost

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s