ความฉลาดของมนุษย์อาจมาพร้อมกับโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) หรือโรคความจำเสื่อมอาจจะวิวัฒนามาพร้อมกับความฉลาดของมนุษย์ ทีมนักวิจัยรายงานการวิจัยใน BioRxiv

การศึกษานี้ค้นหาหลักฐานว่า 50,000 – 200,000 ปีที่แล้ว การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยีนส์ 6 ยีนส์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมอง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะช่วยเพิ่มการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาท (neuron) ทำให้มนุษย์ยุคปัจจุบันฉลาดขึ้น แต่ความสามารถทางสติปัญญานี้ไม่ได้มาฟรีๆ กลุ่มยีนส์เหล่านี้เกี่ยวพันกับโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
Kun Tang นักพันธุศาสตรประชากร (population geneticist) จากสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งเซียงไฮ้ ประเทศจีน (Shanghai Institutes for Biological Sciences) ผู้นำการวิจัยนี้ คาดการว่าโรคเกี่ยวกับความจำพัฒนาเมื่อสมองมีอายุมากขึ้นพร้อมกับความฉลาดของมนุษย์ มนุษย์เป็นสายพันธุ์เดียวเท่าที่พบว่ามีการพัฒนาโรคอัลไซเมอร์ โรคนี้ไม่พบในวานรสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับเราอย่างลิงชิมแปนซี
Tang และทีวิจับค้นหา DNA ในมนุษย์ยุคปัจจุบันที่เป็นหลักฐานของวิวัฒนาการ พวกเค้าตรวจสอบจีโนม(ข้อมูลทางพันธุกรรม)ของมนุษย์ 90 คนที่เป็นชาวแอฟริกัน ชาวเอเชีย และชาวยุโรป เพื่อหารูปแบบของความแตกต่างที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในขนาดของประชากร (population size) และการคัดเลืือกโดยธรรมชาติ
เพื่อที่จะควบคุมผลจาากเปลี่ยนแปลงของประชากร โดยการแยกผลจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติออกมา ทีมนักวิจัยประมาณการว่าขนาดประการกรเปลี่ยนไปอย่างในช่วงเวลาต่างๆ และจากนั้นพวกเขาก็หาจีโนมที่ไม่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของประชากร ทำให้ทราบถึงรูปแบบ DNA ที่น่าจะเป็นผลการคัดเลือกโดยธรรมชาติมากที่สุด
ด้วยวิธีนี้ ทำให้ทีมนักวิจัยสามารถดูย้อนกลับไปหาเหตุการณ์การคัดเลือกโดยธรรมชาติที่เกิดชึ้นเมื่อ 500,000 ปีก่อน เปิดเผยให้เห็นถึงผลของวิวัฒนาการที่ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ในรูปแบบปัจจจุบันนี้ที่เคยคิดว่าเกิดขึ้นเมื่อง 200,000 ปีก่อน การศึกษาก่อนๆเปิดเผยการเปลี่ยนแปลงย้อนไปได้แค่ 30,000 ปีเท่านั้น กล่าวโดย Stephen Schaffner นักชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biologist) แห่ง Broad Institute in Cambridge รัฐแมสซาชูเซตส์
วิธีการวิเคราะห์ที่ทีมวิจัยของ Tang ใช้นี้น่าจะประสบความสำเร็จ (promising) เขากล่าวเพิ่มเติมว่า “มันทำให้การคัดเลือกโดยธรรมชาติทุกรูปแบบมาอยู่กรอบโครงร่างเดียว (uniform framework)” แต่ Schaffner กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกเพื่อให้วิธีการนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น