Fermi ตรวจพบการระเบิดของรังสีแกมมาช่วงเวลาเดียวกับการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วง

Posted on Updated on

กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีแกมมาเฟอร์มิ (Fermi Gamma-ray Space Telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์สำหรับตรวจจับรังสีแกมมาที่โคจรอยู่รอบโลก ได้ตรวจจับการระเบิดของรังสีแกมมาในทิศทางและเวลาเดียวกันกับการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงโดย LIGO

ทีมของ Fermi ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ ในวันที่ 14 กันยายน 2015 ในท้องฟ้าทิศเดียวกับที่ LIGO  ตรวจพบ พบแหล่งกำเนิดสัญญาณอ่อนเหนือ  50 กิโลอิเล็กตรอนโวลท์ (keV) หลังจากการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงของ LIGO 0.4 วินาที สัญญาณเกิดชั่วขณะเป็นเวลา 1 วินาที ที่ความเชื่อมั่น 3 ซิกมา ระยะเวลาและสเปคตรัมบ่งบอกว่าเป็นการระเบิดของรังสีแกมมาอ่อนสั้น (weak short Gamma-Ray Burst)

ภาพตำแหน่งท้องฟ้าในช่วงการเกิดคลื่นความโน้มถ่วง

Fermi ligo
ภาพโดย NASA

รอยสีแดงเข้มคือพื้นที่ที่น่าจะเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง พื้นที่สีชมพูอ่อนคือบริเวณที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศจับได้ พื้นที่สีเทาคือส่วนที่ถูกบังโดยโลก

ถ้าการระเบิดนี้มีความเกี่ยวพันกับการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วง การตรวจพบสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากการรวมตัวกันของหลุมดำคู่มวลดาวฤกษ์ (stellar mass black hole) ก็เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด

การศึกษาเพิ่มเติมจะช่วยบอกว่าทั้งสองเหตุการณ์นี้เกิดจากสิ่งเดียวกันหรือเป็นแค่ความบังเอิญ แต่ก็มีนักฟิสิกส์เสนอแบบจำลองหลุมดำรวมตัวและปล่อยรังสีแกมมาแล้ว

ที่มา: NASA

ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/