ดาวเทียมดาราศาสตร์ ASTRO-H ของญี่ปุ่นที่เพิ่งส่งขึ้นอวกาศแตกเป็นชิ้นๆ
จากข่าวก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นได้ส่งดาวเทียมดาราศาสตร์ ASTRO-H หรือ Hitomi (ฮิโตมิ) ขึ้นสู่อวกาศเพื่อตรวจจับอนุภาคพลังงานสูงเพื่อศึกษากระจุกดาราจักร จานก๊าซร้อนรอบๆหลุมดำ, ดาวนิวตรอน, การระเบิดซูปเปอร์โนวา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา แต่แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2559 สัญญาณจาก ASTRO-H ก็ขาดหายไป
ศูนย์ปฏิบัติการณ์อวกาศร่วมกัน (Joint Space Operations Center:JSpOC) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางทหารของอเมริกา ซึ่งตรวจจับและติดตามขยะอวกาศใกล้โลก ได้พบวัตถุ 5 ชิ้น ล่องลอยอยู่ในตำแหน่งที่ดาวเทียม ASTRO-H อยู่และตรวจพบเวลาเดียวกันที่สัญญาณได้ขาดหายไป หนึ่งวันต่อมาทาง JAXA ได้แถลงการณ์ว่าดาวเทียม Hitomi ได้แตกเป็นหลายชิ้นก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 08:20 (UT)
ภาพจำลองดาวเทียม ASTRO-H

เหตุการณ์ครั้งนี้อาจเกิดจากขยะอวกาศได้จนเข้ากับดาวเทียม ASTRO-H หรือไม่ก็ดาวเทียมได้แตกเป็นชิ้นๆด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใด ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถระบุระดับความเสียหายของดาวเทียมได้ แต่ดูแล้วไม่น่าจะอยู่ในสภาพที่ดีเลย ขณะนี้นักเทคนิคของ JAXA 40 คนกำลังติดตามดาวเทียมนี้และพยายามติดต่อสื่อสารกับมัน ซึ่งได้รับสัญญาณช่วงสั้นๆอย่างน้อยหนึ่งครั้งหลังจากเกิดอุบัติเหตุ อาจจะพอมีหวังที่รีสตาร์จดาวเทียมมูลค่า 273 ล้านดอลลาร์นี้อีกครั้ง
ที่มา : JAXA, Tech Insider, Nature
อัพเดตข้อมูล 28 เมษายน 2559
หลังจากที่ดาดเทียมได้แยกออกเป็นชิ้นๆวันที่ 26 มีนาคม 2559 JAXA ได้รับสัญญาณจาก ASTRO-H 3 ครั้ง
- วันที่ 26 มีนาคม เป็นเวลา 3 นาที
- วันที่ 27 มีนาคม เป็นเวลา 6 นาที
- วันที่ 28 มีนาคม เป็นเวลา 10 วินาที
จากการรวบรวมข้อมูลล่าสุด สันนิษฐานเหตุการอุบัติเหตุดังนี้
วันที่ 26 มีนาคมได้หันดาวเทียมไปยังใจกลางกาแลคซีแอ็คทีพสำเร็จตามแผน แต่หลังจากการหันระบบควบคุมความสูง attitude control system (ACS) ได้ทำงานผิดปกติ เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดว่าดาวเทียมกำลังหมุนทั้งที่ไม่ได้หมุน ทำให้รีแอคชันวีล Reaction Wheel (RW) ที่จะให้หยุดหมุนเกิดทำงานขึ้นมา การทำงานที่ผิดปกติของ ACS ทำให้โมเมนตัมเชิงมุมสะสมในรีแอคชันวีล เมื่อทราบว่าดาวเทียมอยู่ในภาวะวิกฤต ACS จึงเข้าสู่โหมด Safe Hold ทำให้ทรัสเตอร์ทำงาน แต่เนื่องจากข้อมูลที่ผิด การทำงานของทรัสเตอร์จึงเร่งการหมุนของดาวเทียมขึ้นอีก
เนื่องจากความเร็วของการหมุนสูงมากเกินกว่าที่ออกแบบไว้ ทำให้ชิ้นส่วนที่หมุนได้เช่น แผงโซลาร์เซลล์ solar array paddles (SAPs) และ Extensible Optical Bench (EOB) และชิ้นส่วนอื่น หลุดออกจากดาวเทียม
Joint Space Operations Center ได้ตรวจพบวัตถุหลุดจากดาวเทียม 11 ชิ้น โดยมี 2 ชิ้นที่มีความเร็วมากกว่าชิ้นอื่นตกกลับสู่โลก
- 41443 ตกกลับสู่โลก วันที่ 20 เมษายน
- 41438 ตกกลับสู่โลก วันที่ 28 เมษายน
ที่มา JAXA