จีนวางแผนสร้างเครื่องตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศ

Posted on Updated on

หลังมีการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงได้โดยตรงเป็นครั้งแรกโดย LIGO ในอเมริกา ประเทศจีนก็หันมาสนใจบ้าง โดยมีการเสนอการส่งเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงไปในอวกาศ โดยมีวิธีีที่ต่างกันจาก 2 ทีม

แนวคิดการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศไม่ใช่เรื่องใหม่ องค์การอวกาศยุโรปได้ส่งยาน LISA Pathfinder ขึ้นไปในอวกาศเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการตรวจจับเครื่องความโน้มถ่วงในอวกาศ หากทำสำเร็จจะพัฒนาเป็น eLISA ซึ่งมียานสำรวจ 3 ลำยิงเลเซอร์เป็นรูปสามเหลี่ยมในอวกาศ แต่ข้อเสนอของจีนนั่นจะทำให้ใหญ่กว่า

ภาพจำลองโครงการ eLISA

LISA_motion
ภาพโดย Wikipedia

ข้อเสนอ Taiji

โปรเจค Taiji จะเหมือนกับ eLISA ที่มียานสำรวจ 3 ลำ แต่จะอยู่ในระยะห่างที่มากกว่า Taiji แต่ละลำจะอยู่ห่างกัน 3 ล้านกิโลเมตร ส่วน eLISA ยังอยู่ในการพิจารณาแต่ก็เป็นไปได้ว่ายานแต่ละลำจะอยู่ห่างกัน 2 ล้านกิโลเมตร Taiji คาดหวังว่าจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2033 เร็วก่อนหน้า eLISA ไปหนึ่งปี “ถ้า Taiji ทำได้เหมือนอย่าง eLISA จะทำให้ประเทศจีนก้าวมาอยู่ในแนวหน้า” กล่าวโดย Yanbei Chen นักฟิสิกส์คลื่นความโน้มถ่วงจาก Caltech ผู้ทำงานใน LIGO

อย่างไรก็ตามการสร้าง Taiji อาจเป็นโครงการที่ใหญ่เกินไปสำหรับประเทศจีน ทั้งในแง่ของเงินก่อสร้างและบุคคลากรนักวิทยาสาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ Gerhard Heinzel นักฟิสิกส์จาก eLISA กล่าวเตือน

Wu Yue-Liang ผู้นำเสนอโปรเจค Taiji นักฟิสิกส์อนุภาคจากสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์จีน ได้ประเมินว่าโครงการ Taiji จะใช้เงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านหยวน (7.5 หมื่นล้านบาท) ซึ่งมากกว่าเป็นสองเท่าของโครงการของยุโรป

ข้อเสนอ TianQin

โครงการนี้จะใช้เงินทุนและทรัพยากรน้อยกว่า โดยเป็นยาน 3 ลำเหมือนกันแต่จะนำไปไว้ในวงโคจรใกล้โลกแทนซึ่งจะใช้ต้นทุนแค่ 2 พันล้านยวน (1 หมื่นล้านบาท) กล่าวโดย Luo Jun ผู้นำเสนอโปรเจค TianQin นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็น

แต่ความสามารถของ TianQin จะน้อยลงจากที่จะสามารถตรวจจับหลุมดำคู่หรือดาวนิวตรอนคู่ได้ จะเป็นการตรวจจับดาวแคระขาวคู่แทน แต่มันจะง่ายกว่า ถูกกว่า มีโอกาศทำสำเร็จได้มากกว่า Luo Jun กล่าว ยานจะสามารถส่งได้ใน 20-25 ปีข้างหน้า

ภาพเปรียบเทียบทั้งสองข้อเสนอ

nature-china-g-waves-10-03-16-online
ภาพโดย Nature

Wu Ji ผู้อำนวยการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์จีนแห่งศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติกล่าวว่า “ถ้าประเทศจีนจะตัดสินใจที่จะมีโครงการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง มันควรจะรวมกันเป็นโครงการเดียว อาจจะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ด้วย เป็นไปไม่ได้ที่จะสนับสนุนทั้ง 2 โครงการในเวลาเดียว”

ทั้ง Wu Yue-Liang และ  Luo Jun ต่างก็มั่นจะว่าข้อเสนอของตนจะนำไปสู่รูปธรรมภายใน 5 ปีข้างหน้า โปรเจค Taiji ได้รับเงินจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์จีน ส่วนโปรเจค TianQin ได้รับเงินจากเมืองจูไห่ (Zhuhai) ทั้งสองโครงการยังต้องการเงินอีกมาก “รัฐบาลจะรู้มากขึ้นในความสำคัญของการวิจัยรากฐานเกี่ยวกับคลื่นความโน้มถ่วง” Wu Ji กล่าว “ประเทศจีนควรจะตามให้ทันในด้านนี้”

ที่มา : Nature

ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s