SpaceX ปล่อยดาวเทียมไทยคม 8 ขึ้นสู่อวกาศ
วันนี้เวลา 4:40 น. ตามเวลาประเทศไทย SpaceX บริษัทขนส่งทางอวกาศของมหาเศรษฐี Elon musk ผู้ก่อตั้งบริษัทธุรกรรมการเงินออนไลน์ Paypal และเจ้าของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Motors ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 8 ขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้า ด้วยจรวด Falcon 9 V1.2 สำเร็จและนำจรวดท่อนแรกกลับลงจอดบนเรือไร้คนขับ (Drone ship) ได้อีกด้วย
ดาวเทียมดวงนี้เป็นดวงที่ 8 สำหรับบริษัทไทยคม ปัจจุบันมีดาวเทียมที่ให้บริการอยู่ 3 ดวงคือ ไทยคม 4 , 5 ,6 และ 7 ส่วนดวงเทียมไทยคอม 1, 2 และ 3 หมดอายุการใช้งานกลายเป็นขยะอวกาศไปแล้ว บางดวงตกกลับสู่โลก ดาวเทียมไทยคม 8 ดวงนี้ มีน้ำหนัก 3.1 ตัน มีทรัสต์เตอร์ปรับวงโคจรและรีแอคชันวีวให้อยู่ที่ลองติดจูด 78.5° ตะวันออก ณ วงโคจรค้างฟ้า 35,786 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก แบตเตอรีลิเทียมไออนและแผงโซลาเซลล์กำลังไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ มีอายุการใช้งานที่ออกแบบไว้คือ 15 ปี ผลิตโดยบริษัท Orbital ATK Inc. ประเทศอเมริกา โดยมี 24 Ku-band transponders ที่สามารถให้บริการครอบคุมพื้นที่ประเทศไทย อินเดีย และแอฟริกาบางส่วน

ดาวเทียมไทยคม 8 ถูกส่งด้วยจรวด Falcon 9 V1.2 ที่ท่อนแรกมีเครื่องยนต์ Merlin D1 จำนวน 9 ตัว และจรวดท่อนบนเครื่องยนต์ Merlin D1 จำนวน 1 ตัว สำหรับพาดาวเทียมไปสู่วงโคจรค้างฟ้า GTO ในลักษณะวงรี ส่วนที่เหลือตัวดาวเทียมจะปรับเข้าสู่วงโคจรค้างฟ้าที่เป็นวงกลม ระหว่างทางนั้นจรวดท่อนแรกที่แยกตัวออกมาตกกลับสูู่โลกและจะจุดเชื้อเพลิงลดความเร็วก่อนเข้าปะทะชั้นบรรยากาศ (Re-entry burn) ครีบด้านข้างจะช่วยบังคับจรวดให้ตรงกับจุดลงจอดและทำการลดความเร็วในวินาทีสุดท้ายก่อนถึงโดรนชิพที่มีชื่อว่า Of Course I Still Love You ตามชื่อยานในนิยายวิทยาศาสตร์ Culture ซึ่งอยู่ห่างจากฐานปล่อย 680 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของแหลม Canaveral ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยครั้งนี้ถือว่าเป็นการพยายามนำจรวดท่อนแรกลงจอดบนเรือครั้งที่ 7 จากที่เคยลงจอดบนเรือสำเร็จ 3 ครั้ง ลงจอดบนเรือล้มเหลว 3 ครั้ง ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงจอดบนเรือสำเร็จครั้งที่ 4 นอกจากนั้นยังเคยลงจอดบนพื้นดินสำเร็จ 1 ครั้ง
ตารางการปล่อย
เวลา (นาที) | การดำเนินการ |
T-35:00 | เติมเคโรซีนและออกซิเจนเหลว |
T-1:30 | ผู้อำนวยการยืนยันการปล่อย |
T-0:03 | จุดเชื้อเพลิง |
T-0:00 | จรวดออกตัว |
T+1:17 | ความกดดันสูงสุด Max Q |
T+2:35 | จรวดท่อนแรกปิดตัว Main Engine Cutoff (MECO) |
T+2:39 | จรวดท่อนแรกแยกตัว First stage separation |
T+2:46 | จรวดท่อนบนจุดเชื้อเพลิง |
T+3:37 | ดีดส่วนป้องกันทิ้ง Fairing deployment |
T+8:40 | จรวดท่อนแรกลงจอด |
T+8:56 | จรวดท่อนบนปิดตัวครั้งที่ 1 Second stage engine cutoff (SECO-1) |
T+27:07 | จรวดท่อนบนจุดเชื้อเพลิงอีกครั้ง |
T+28:20 | จรวดท่อนบนปิดตัวครั้งที่ 2 Second stage engine cutoff (SECO-2) |
T+31:56 | ปล่อยดาวเทียม หลังจากนั้นดาวเทียมจากกางแผงโซลาร์เซลล์ และใช้เวลาเป็นเดือนในทางทำวงโคจรค้างฟ้า |
คลิปจำลองด้วยเกม Kerbal Space Program