จีนวางแผนสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเหมือนฮับเบิลที่สามารถเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศได้ด้วย
จีนวางแผนที่จะสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศอันใหม่ที่เหนือกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของ NASA กล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้จะคล้ายกับฮับเบิลแต่มีขอบเขตการมองเห็น (field of view) ใหญ่กว่า 300 เท่า กล้องโทรทรรศน์อันใหม่นี้ยังไม่ได้ถูกตั้งชื่อแต่มีความสามารถเช่ื่อมต่อ (docking) กับสถานีอวกาศเทียนกง (Tian Gong) ของจีนได้อีกด้วย
องค์การอวกาศแห่งชาติจีน หรือ China National Space Administration: CNSA ได้พบวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศ กล้องโทรทรรศจะโคจรอยู่ห่างจากสถานี แต่เมื่อใดที่มันต้องการที่จะซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาก็สามารถเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศและให้นักบินอวกาศเข้าไปซ่อมแซมได้
ภาพจำลองโมดูลสถานีอวกาศเทียนกง 1 กำลังเชื่อมต่อกับยานเสินโจว(Shenzhou) โดยศิลปิน

ยังไม่มีกำหนดเวลาที่จะปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ แต่แผนจะอยู่ในช่วงขยายสถานีอวกาศ โมดูลสถานีอวกาศเทียนกง 1 ได้ถูกนำขึ้นสู่วงโคจรของโลกเมื่อปี 2011 ใช้ทดลองการใช้ชีวิตของนักบินและทดสอบเทคโนโลยีในอวกาศ ส่วนโมดูลสถานีอวกาศเทียนกง 2 อาจจะถูกนำขึ้นไปในอวกาศในปีนี้ จะสามารถรองรับลูกเรือได้ 3 คนและ สนับสนุนการดำรงชีวิตได้ 20 วัน ขณะที่โมดูลสถานีอวกาศเทียนกง 3 จะสามารถรองรับลูกเรือได้ 3 คน และสนับสนุนการดำรงชีวิตได้ 40 วัน อาจจะถูกนำขึ้นไปในอวกาศในช่วงปีทศวรรศ 2020 เมื่อทั้ง 3 โมดูลเชื่อมต่อกันก็จะกลายเป็น โมดูลสถานีอวกาศขนาดใหญ่แห่งชาติจีน (Chinese large modular space station:CSS) หรือ สถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong Space Station)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศจากใช้เวลา 10 ปีในการถ่ายภาพ 40% ของอวกาศ ด้วยความแม่นยำเทียบเท่ากับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล จีนหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เกิดความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ (breakthroughs) เกี่ยวกับการทำความเข้าใจจุดกำเนิด การพัฒนาและวิวัฒนาการของจักรวาล
ที่มา : universetoday, people
ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/