ทีมนักวิจัยค้นพบท่อเชื่อมต่อระหว่างสมองและระบบภูมิคุ้มกัน
ทีมนักวิจัยของจากสำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทลัยเวอจิเนีย (University of Virginia School of Medicine) ได้พบว่าสมองได้เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบภูมิคุ้มกันผ่านทางท่อซึ่งก่อนหน้านี้ไม่คาดว่าจะมีอยู่ ทำให้การค้นพบครั้งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงตำราเรียนเลยทีเดียว แม้ว่าระบบน้ำเหลืองมีกระจายอยู่ทั่วทั้งร่างการ แต่ท่อที่เชื่อมกับสมองดังกล่าวสามารถหลุดพ้นการตรวจเจอไปได้ ความสำคัญของการค้นพบครั้งนี้มีผลต่อการศึกษาและการรักษาโรคทางประสาท เช่น ออทิสซึม โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
“แทนที่จะถามว่า ‘เราจะศึกษาว่าระบบภูมิคุ้มกันมีผลต่อสนองจากสมองได้อย่างไร’ หรือ ‘ทำไมผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีภาวะภูมิคุ้มกันโจมตีสมอง’ ตอนนี้เราสามารถมีวิธีเข้าใจได้ถึงในระดับกลไก เพราะว่าสมองก็เหมือนกับเนื้อเยื่ออื่นๆที่เชื่อมต่อกับระบบภูมิคุ้มกันส่วนนอก (peripheral immune system) ผ่านทางท่อน้ำเหลืองเยื่อหุ้มสมอง (meningeal lymphatic vessels)” กล่าวโดย ศ.ดร. Jonathan Kipnis แห่งคณะประสาทวิยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอจิเนียและผู้อำนวยการศูนย์ภูมิคุ้มกันวิทยาสมองและเซลล์เกลีย (Center for Brain Immunology and Glia หรือ BIG) “มันเปลี่ยนวิธีที่เราเข้าใจเกี่ยวความสัมพันธ์ระหว่างประสาทและภูมิคุ้มกันโดยสิ้นเชิง” เราเข้าใจมาตลอดว่าเป็นเรื่องลึกลับที่ไม่สามารถศึกษาได้ แต่ตอนนี้เราสามารถตั้งคำถามเพื่อศึกษาเชิงกลไกได้แล้ว”
เราเชื่อว่าทุกๆโรคทางประสาทที่มีองค์ประกอบของภูมิคุ้มกัน ท่อเหล่านี้อาจมีบทบาทสำคัญ Kipnis กล่าว
ดร. Kevin Lee ประธานคณะประสาทวิทยาศาสตร์ อธิบายความรู้สึกต่อการค้นพบที่ห้องปฏิบัติการของ Kipnis “ครั้งแรกที่พวกเขาได้แสดงผลลัพธ์เบื้องต้นให้ดู ‘ผมกล่าวได้คำเดียวว่า คนในวงการประสาทวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนแปลงตำราการสอน’ มันไม่เคยมีระบบน้ำเหลืองสำหรับระบบประสาทส่วนกลางมาก่อน และมันเห็นได้ชัดเจนจากการค้นพบครั้งแรก (และก็ได้ทำการศึกษาอีกหลายครั้งต่อมาเพื่อสนับสนุนการค้นพบนี้) ที่จะเปลี่ยนแปลงเชิงรากฐานในวิธีที่ผู้คนเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของระบบประสาทส่วนกลางกับระบบภูมิคุ้มกัน”
แม้แต่ Kipnis ก็ไม่เชื่อในตอนแรก “ผมเหลือเชื่อจริงๆว่ามีโครงสร้างในร่างกายที่เราไม่เคยรู้ ผมคิดว่าร่างกายถูกสำรวจจนทั่วแล้ว” เขากล่าว “ผมคิดว่าการค้นพบเหล่านี้สิ้นสุดลงประมาณกลางศตวรรษที่แล้ว (ราวๆ ค.ศ.1950)”
ภาพระบบท่อน้ำเหลือง

การค้นพบนี้ค้นพบโดยงานของ ดร. Antoine Louveau เพื่อนปริญญาเอกในห้องปฏิบัติการของ Kipnis ท่อได้ถูกตรวจเจอหลักจากที่ Louveau ได้พัฒนาวิธีการติดเยื่อหุ้มสมองหนูบนสไลด์ ทำให้พวกเขาสามารถตรวจสอบเนื้อเยื่อได้ทั้งหมด “จริงๆแล้วมันง่ายพอควร” เขากล่าว มันมีกลวิธีหนึ่ง เราติดเยื้อหุ้มสมองในหมวกรูปทรงกะโหลก (Skullcap) แล้วเนื้อเยื่อเหล่านนี้จะปลอดภัยในนี้ จากนั้นเราก็ตัดแยกมัน (dissect) ถ้าเราทำด้วยวิธีอื่น มันจะไม่ได้ผล
หลังจากสังเกตเห็นรูปแบบเหมือนท่อในเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันบนสไลด์ของเขา เขาทดสอบหาท่อน้ำเหลืองและมันก็อยู่ตรงนั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีอยู่ Louveau นึกถึงตอนนั้น “ผมเรียก Jony (Kipnis) ให้มาส่งกล้องจุลทรรศน์และผมก็บอกว่า ‘ผมคิดว่าเราเจออะไรบางอย่าง’”
Kipnis บอกว่า “มันซ่อนอย่างดีมาก” และสังเกตได้ว่ามันไปตามหลอดเลือดใหญ่ลงไปยังรูจมูกในที่ที่ยากจะเห็น “มันอยู่ติดกับหลอดเลือดมาก คุณแค่มองพลาดไม่เห็นมัน” เขากล่าว
การมองตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ของท่อเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของมัน และมันจะเป็นไปไม่ได้ถ้าปราศจากการรวมมือกับ Tajie Harris Kipnis บอกว่า ดร. Harris เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของคณะประสาทวิทยาศาสตร์และเป็นสมาชิกของศูนย์ BIG และ Kipnis ก็ยังยกย่องทักษะการผ่าตัดที่ยดเยี่ยมของ Igor Smirnov ผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการของ Kipnis
การมีอยู่ที่คาดไม่ถึงของท่อน้ำเหลืองนี้ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกจำนวนมากที่เราต้องการรู้คำตอบที่เกี่ยวกับทั้งการทำงานจองสมองและโรคที่เกิดกับสมอง ตัวอย่างเช่นโรคอัลไซเมอร์ “ในโรคอัลไซเมอร์มีการสะสมของก้อนโปรตีนในสมอง Kipnis กล่าว เราคิดว่ามันอาจจะสะสมในสมองเพรามันไม่ได้ถูกเอาออกจากมีประสิทธิภาพโดยท่อนี้” เขาบอกว่าท่อนี้ดูเปลี่ยนไปตามอายุ ดังนั้นบทบาทที่มันต่อความชราภาพก็เป็นทางที่น่าค้นหา มีโรคทางประสาทจำนวนมากจากออทิสซึมถึงโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่จะต้องถูกพิจารณาอีกครั้ง
แหล่งข้อมูล sciencedaily, testtube, nature, kurzweilai.net