ทีมนักวิจัยได้เสนอการพิสูจน์ว่ามีออกซิเจนอยู่ในชั้นแก่นโลก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และอังกฤษได้ใช้ข้อมูลการไหวสะเทือน ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ และการคำนวณทางทฤษฎีเพื่อพิสูจน์ว่ามีออกซิเจนอยู่ในแก่นโลกชั้นนอก(Outer Core) งานวิจัยของพวกเขาได้ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Science โดยใช้การทดลองในห้องปฏิบัติการแยกธาตุเบาอื่นๆออกให้เหลือเพียงออกซิเจนไว้
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้เชื่อว่าแก่นโลกประกอบไปด้วยเหล็กเท่านั้น โดยวิเคราะห์จากข้อมูลการไหวสะเทือนจากแผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ การวัดโมเมนต์ความเฉื่อยของโลก ส่วนประกอบจากอุกาบาต ทำให้เชื่อว่าแก่นโลกประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิล แต่ส่วนที่อยู่ระหว่างชั้นแก่นโลก(Core)และชั้นแมนเทิล(Mantle)นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าอาจมีธาตุเบาอื่นๆซ่อนอยู่เช่น คาร์บอน ซิลิคอน กำมะถันและออกซิเจน ซึ่งข้อมูลการสั่นไหวอย่างเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่ามีธาตุเหล่านี้อยู่ อย่างไรก็ตามมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนสงสัยว่ามีความเป็นไปได้มากที่จะมีออกซิเจนอยู่
เพื่อที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของออกซิเจน ทีมนักวิจัยจำลองสภาวะที่เกิดขึ้นในแก่นของโลก (โดยใส่ความร้อนและความดันในแผ่นเหล็กและนิกเกิล) ในห้องแลบและเพิ่มธาตุเบาที่สงสัยเข้าไป และเอาออกทีละธาตุ(โดยใช้ทฤษฎีฟังก์ชันความหนาแน่น)จนเหลือแค่ออกซิเจน ผลจากการคำนวณแสดงให้เห็นว่ามีออกซิเจนอยู่ 3.7 เปอร์เซ็นต์อยู่ในแก่นโลกชั้นนอก นอกจากนั้นยังมีซิลิคอน 1.9 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่มีคาร์บอนและกำมะถัน
การมีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบของแก่นโลกทำให้เป็นไปได้ว่าโลกในช่วงแรกๆมีความร้อนมากกว่าแนวคิดเชิงทฤษฎีก่อนๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ นักวิทยาศาสตร์ทุกคนจะเห็นด้วยในผลการวิจัยนี้ เนื่องจากการไม่มีอยู่ของกำมะถันซึ่งเป็นธาตุที่พบมากในอุกาบาต
ที่มา : phys.org