เนื้อแปรรูปเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำใส้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
องค์การอนามัยโลก(World Health Organization: WHO) รายงานว่ามี “หลักฐานที่เพียงพอ” (sufficient evident) ที่จะสรุปว่า เนื้อแปรรูป อย่างเช่น แฮม เบคอน ใส้กรอก อยู่ในกลุ่มสิ่งที่ทำให้ก่อให้เกิดมะเร็งหรือกลุ่ม 1 เป็นกลุ่มเดียวกันกับ แร่ใยหิน สารหนู แอลกอฮอล์ และยาสูบ
เนื้อแปรรูป (Processed meat) คืือเนื้อที่่ผ่านกระบวนการการยืดอายุอาหารหรือการเปลี่ยนรสชาติอาหาร เช่น การรมควัน การบ่ม การเติมเกลือ หรือการใส่สารถนอมอาหาร
ภาพเนื้อแปรรูป เบคอน

ขณะที่เนื้อแดง (Red meat) เช่น เนื้อวัว เนื้อลูกวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อม้า เนื้อหมูที่มีไมโยโกลบินมากกว่า 65% อยู่ในกลุ่มสิ่งที่ “อาจจะ”(probably)ก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำใส้หรือกลุ่ม 2A ดูสารอื่นๆที่นี่
องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC ) องค์การอนามัยโลก ได้ออกรายงานที่จัดทำโดยนักผู้เชี่ยวชาญ 22 คน จาก10 ประเทศ ทำงานรีวิวงานวิจัยที่เกี่ยวกับเนื้อแปรรูปจำนวนมากกว่า 800 ชิ้น งานวิจัยที่เกี่ยวกับเนื้อแดงจำนวนกว่า 400 ชิ้น สรุปออกมาว่า การบริโภคเนื้อแปรรูปครึ่งขีดต่อวันเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำใส้ร้อยละ 18 ในขณะที่เนื้อแดงยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่มากพอว่าทำให้เกิดมะเร็ง แต่ถ้าหากมันก่อให้เกิดมะเร็งแล้วมันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำใส้ร้อยละ 17 ต่อการบริโภคเนื้อแดง 1 ขีดทุกวัน การวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Oncology
นอกจากนั้นการปรุงเนื้อที่สัมผัสโดยกับไฟโดยตรง เช่นการย่าง การทอดในกระทะความร้อนสูง จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อมูลที่มากพอที่จะสรุปว่าการปรุงอาหารในวิธีนั้นส่งผลให้เกิดมะเร็ง
ส่วนเนื้อขาว (White meat) เช่น ไก่ สัตว์ปีก ปลา หรือเนื้อหมูที่มีไมโยโกลบินน้อยกว่า 65% ยังไม่ได้รับการประเมิน เช่นเดียวกันกับอาหารมังสวิรัติ
อย่างไรก็ตาม IARC ไม่ได้ให้เลิกทานเนื้อ เนื่องจากเนื้อก็ยังมีประโยชนน์ แต่ควรลดปริมาณการทานให้ลดลง
อีกด้านหนึ่ง สถาบันเนื้อแห่งอเมริกาเหนือ (North America Meat Institute) ก็ออกมาแย้งว่า เนื้อมีประโยชน์ทางด้านบวกเช่น การสร้างกล้ามเนื้อ มีวิตามิน B2 B6 B12 ที่มีผมต่อพัฒนาการทางสมอง แก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กที่จะเป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือด และมีสังกะสี ดังนั้นควรบริโภคอาหารอย่างสมดุลมากกว่าที่จะงดทานเนื้อ
แหล่งข้อมูล : The Guardian, BBC, NPR.org , NAMI , IARC ,
เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามถึงแม้เนื้อแปรรูปจะเป็นกลุ่ม 1 กลุ่มเดียวกับบุหรี่ แต่บุหรี่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดถึง 2500% มากกว่าเนื้อแปรรูปหลายเท่า แล้วทำไมถึงอยู่เดียวกันล่ะ ก็เพราะว่ากลุ่มของ IARC นั้นแบ่งตามระดับความเชื่อมั่นในหลักฐาน ไม่ใช่แบ่งตามระดับความเสี่ยง กลุ่ม 1 คือเชื่อมั่นได้สูงว่าทำให้เกิดมะเร็ง โดยใช้คำว่า”มีหลักฐานเพียงพอ” กลุ่ม 2A เชื่อมั่นน้อยลงจึงใช้คำว่า “อาจจะ”
แผนที่อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำใส้ในผู้ชาย(ต่อพันคน) ที่มา: IARC
ภาพภูมิแท่งอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำใส้และอัตราการตาย(ต่อพันคน) ที่มา: IARC