จีนปล่อยดาวเทียม “หงอคง” ขึ้นสู่วงโคจรเพื่อศึกษาสสารมืด
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 จีนได้ปล่อยดาวเทียม Dark Matter Particle Explorer (DAMPE) ขึ้นสู่วงโคจรสถิตดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous orbit) ความสูง 500 กิโลเมตร เพื่อศึกษาอนุภาคพลังงานสูงและรังสีแกมมาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสสารมืด ดาวเทียม DAMPE ถูกปล่อยด้วยจรวด Long March 2D จากฐานปล่อยดาวเทียมจิ่วฉวน (Jiuquan Satellite Launch Center) เมืองจิ่วฉวน มนฑลกานซู (Gānsù) ประเทศจีน
ภาพจำลองดาวเทียม DAMPE

ดาวเทียม DAMPE มีชื่อเล่นในภาษาจีนว่า หงอคง หรือ อู้คง(Wùkōng) ในภาษาจีนกลาง ดาวเทียมนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (China’s Academy of Sciences) สถาบันการศึกษาในอิตาลี 3 แห่ง และมหาวิทยาลัยเจนีวา (University of Geneva) ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ดาวเทียม DAMPE มีเซ็นเซอร์ทั้งสิ้น 4 ชิ้น ได้แก่
- Bismuth Germanium Oxide calorimeter (BGO)
- Silicon-Tungsten tracker-converter (STK)
- Neutron detector (NUD)
- Plastic scintillator strips detector (PSD)
ซึ่งมีไว้สำหรับดักจับอนุภาคพลังงานสูงและตามรอยไปหาจุดกำเนิดของมัน ซึ่งทีมนักวิจัยเชื่อว่าเกิดจากการชนกันของสสารมืด เซ็นเซอร์ถูกออกแบบเพื่อดักจับโฟตอนและอิเล็ตรอนซึ่งมีที่พลังงานสููงมากกว่าเครื่องตรวจจับสสารมืดชนกันในอวกาศ AMS ที่อยู่บนสถานนีอวกาศนานาชาติ (ISS) ดาวเทียมออกแบบมาเพื่อใช้งานอย่างน้อย 3 ปี
โครงการ DAMPE เป็นโครงการแรกในห้าโครงการวิทยาศาสตร์อวกาศที่จีนได้พัฒนา อีกสองโครงการจะเกิดขึ้นในปีหน้า และหนึ่งในนั้นจะเป็นดวงเทียมสื่อสารควอนตัวดวงแรก วัตถุประสงค์ของมันเพื่อจะทดสอบว่าถ้าคู่ของโฟตอนที่ยิงจากกับดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดิน 2 สถานีจะสามารถสื่อสาร(quantun entanglement)กันได้หรือไม่ การสำเร็จก็จะถือว่าดาวเทียมสื่อสารด้วยควอนตัมดวงแรกของโลก อีกโครงการคือการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์ขึ้นสู่วงโคจรเพื่อศึกษาการแผ่รังสีของหลุมดำ
คลิปปล่อยดาวเทียม DAMPE
ที่มา Phys.org , Nature , dpnc.unige.ch , indico.cern.ch
ติดตามเพจ https://www.facebook.com/punpunsara/
ดาวเทียม DAMPE ได้เก็บข้อมูลมาเป็นเวลา 3 เดือน ได้ส่งข้อมูลมายังโลกแล้วจำนวน 2.4 เทอระไบต์(TB)