ปัญหาเด็กแว้น
ปัญหาการแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะหรือปัญหาเด็กแว้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากับสังคมไทยมานานพอสมควร และยังไม่มีการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหานี้มีความสำคัญเนื่องจากก่อให้เกิดอันตรายแก่กับผู้ขับขี่บนท้องถนน อันตรายและเสียงรบกวนแก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่มีการแข่งขัน และปัญหาอาชญากรรมหรือปัญหาทางสังคมอื่นๆที่อาจตามมา นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนเหล่านี้ยังจะเป็นผู้ใหญ่ของสังคมในวันข้างหน้าอีกด้วย ผู้เขียนจึงลองรวบรวมความคิดของตนเองเพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและข้อเสนอแนะคร่าวๆเผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านในการค้นหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป
ปัญหาเหล่าเด็กแว้นเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากปัญหาของตัวเด็กอย่างเดียว แต่เกิดจากอิทธิพลและการหล่อหลอมทางสังคมจากสถาบันทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น ถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการที่ว่ามนุษย์เพศชายมักจะมีชอบความเสี่ยงหรือใช้ความรุนแรงซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวหรือคึกคะนองต่างๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าวัยรุ่นต้องปลดปล่อยพฤติกรรมเหล่านั้นโดยการแข่งรถอย่างเดียว สถาบันทางสังคมสามารถชักจูงให้วัยรุ่งสามารถแสดงออกเชิงพฤติกรรมในรูปแบบอื่นได้
ต่อไปนี้จะแสดงปัญหาของสถาบันสังคมต่างๆที่ส่งเสริมให้เกิดปัญหาเด็กแว้น
- สถาบันครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในการหล่อหลอพฤติกรรมของเด็ก อย่างไรก็ตามพบว่ามีครอบครัวที่ไม่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูบุตรจำนวนมาก ได้แก่ครอบครัวที่ยากจนหรือด้อยโอกาสทางสังคม มักไม่มีเวลาดูแล ชี้นำหรือส่งเสริมพฤติกรรมบุตรหลานให้เหมาะสม หรือเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับบุตรหลานเสียเองหรือเด็กไม่ได้มองพ่อแม่เป็นแบบอย่าง(Idol) ครอบครัวที่ยากจนหรือด้อยโอกาสทางสังคมเกิดจากไม่เท่าเทียมของโอกาสด้านเศรษฐกิจ พ่อแม่ไม่ได้มีการศึกษาที่ดี การมีลูกมากทำให้มีความยากลำบากในดูแลมากขึ้น สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่ครอบครัวอาศัยอยู่ที่มีผลเช่นกัน ครอบครัวที่ยากจนบางครอบครัวอาศัยชุมชนแอดอัดซึ่งเป็นแหล่งรวมของคนที่ได้รับผลกระทบจากความไม่เท่าเทียมด้านโอกาสทางเศรษฐกิจ เด็กที่อยู่ในชุมชนได้ซึมซับพฤติกรรมด้านไม่ดีต่างๆที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชน อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้เหมารวมว่าครอบครัวยากจนทุกครอบครัวหรือที่อยู่ในชุมชนแอดอัดจะสร้างให้เกิดเด็กแว้น ครอบครัวร่ำรวยที่ไม่มีเวลาอบรมบุตรก็สามารถทำให้เกิดเด็กแว้นได้เช่น แต่ส่วนใหญ่ไปแว้นรถยนต์กัน
- สถาบันการศึกษา
ระบบการศึกษาแบบแข่งขันก่อให้เด็กรู้สึกกดดัน เด็กที่ทำคะแนนไม่ได้ดีไม่เกิดความภูมิใจในความสามารถของตน จึงมีแนวโน้มแสดงออกทางพฤติกรรมอื่นๆเพื่อให้ได้รับการยอมรับในหมู่เพื่อนเช่นการแข่งรถ ไม่มีการกิจกรรมอื่นๆให้เด็กได้แสดงความสามารถเช่นดนตรี กีฬา กิจกรรมอย่างเพียงพอ เนื่องจากโรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นด้านวิชาการ การเรียนเพื่อสอบ โดยเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเรียน เด็กที่ทำคะแนนไม่ดีสามารถแสดงออกถึงความสามารถของตนด้านดนตรี กีฬา กิจกรรมได้ หากเด็กมีความสามารถด้านนี้เขาจะรู้สึกภูมิใจในความสามารถของตน และไม่ออกไปทำกิจกรรมที่ไม่ดี บุคลากรทางการศึกษาเช่น ครู ผู้บริหาร กระทรวงไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำให้เกิดการสร้างสรรค์ด้านวิชาการ-กิจกรรม
- ผู้บังคับใช้กฎหมาย
ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ปราบปราม จับกุมได้อย่างเพียงพอและเคร่งครัด หากปราบปรามอย่างเคร่งครัดแล้วเยาวชนจะกลัวและไม่กล้ากระทำความผิด สาเหตุเกิดจากอ่อนแอเชิงโครงสร้างของสถาบันตำรวจในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร
- สื่อมวลชน สื่อสังคม
สื่อไม่ได้สร้างสื่อที่ดีมีคุณภาพให้เยาวชนได้ซึมซับอย่างเพียงพอ มีแต่ละครสะท้อนสังคมที่ทำให้เกิดซึมซับซับพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว มีละครชี้นำสังคมจำนวนน้อย โฆษณาชี้นำให้เกิดความความต้องการด้านวัตถุเช่น โทรศัพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว ไม่ค่อยมีสื่อสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมเยาวชน เช่น การประดิษฐ์ ความรู้วิทยาศาสตร์ สารคดี กีฬา ดนตรี หากมีสื่อสร้างสรรค์จะส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน นอกจากนั้นยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจ แรงจูงใจให้สนใจใน ดนตรี กีฬา กิจกรรมหรือแม้แต่การเรียนด้วย
- ภาครัฐบาล
การบริหารหน่วยงานราชการ กระทรวงที่เกี่ยวข้องยังไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการศึกษา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม ตำรวจ ซึ่งเกิดจากปัญหาของสถาบันการเมือง การสร้างพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนยังมีน้อยได้แก่ ลานกิจกรรม สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดหรือการสร้างกิจกรรมให้เยาวชนมีส่วนร่วม
ข้อเสนอการแก้ปัญหาในภาพกว้าง
ปรับปรุงระบบการเมืองให้ส่งให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ กระทรวงต่างๆ กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางเศรษฐกิจ กระทรวงศึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพให้เกิดการสร้างสรรค์ด้านวิชาการ-กิจกรรม ลดการแข่งขันทางการศึกษา ตำรวจปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กรในการปราบปราม จับกุมให้เกิดความเกรงกลัวกฎหมาย หน่วยงานกำกับดูแลสื่อสารมวลชน”ส่งเสริม”ให้สื่อมวลชนสร้างสรรค์สื่อคุณภาพดี ชี้นำสังคมที่ดี
ปล.ผู้เขียนเสนอการแก้ปัญหาในแค่ระดับกว้างๆ เนื่องจากยังไม่มีองค์ความรู้ในรายละเอียดของปัญหาขององค์กรดังกล่าว
มิถุนายน 21, 2016 เวลา 13:14
พวกเด็กแว้นที่อายุคัดเลือกทหารตามเกณฑ์น่าจะจับรับใช้ชาติเลยส่วนพวกที่อายุไม่ถึงก้อติดทันบนรอเกณทหารพอครบก้อหมายเรียกจับเป็นทหารเลย