การแก้ปัญหาระบบการเมือง

Posted on Updated on

ก่อนอื่นผู้เขียนจะกล่าวก่อนว่าการแก้ปัญหาในระบบการเมืองในบทความนี้มีฐานอยู่บนระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย ผู้เขียนอยากเชิญชวนให้เห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองต้องตั้งอยู่บนระบอบประชาธิปไตยไม่งั้นจะไม่สามารถแก้ปัญหาตามแนวทางนี้ได้

การแก้ไขปัญหาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นต้องเริ่มที่ตัวประชาชนหรือพลเมืองมาเป็นอันดับแรก ประชาชนควรจะรู้สึกอยากส่วนร่วมการการแก้ปัญหาสังคมหรือปัญหาของตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่การ”เชื่อใจ”นักการเมืองผ่านระบอบการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว โดยปล่อยให้บริหารประเทศโดยไม่สนใจ หรือการ”เชื่อใจ”คณะบุคคลหรือนักปฏิรูปกลุ่มหนึ่งในระบอบเผด็จการ หากเป็นเช่นนั้น จะไม่ได้ชื่อว่าการปกครอง “โดยประชาชน” จะเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างไร ร่วมต้นจากการที่ประชาชนชนมีสิทธิได้แสดงออกถึงปัญหาของตนหรือปัญหาของชุมชนหรือจังหวัดของตน จะต้องมีกลไกในการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีปัญหาเดียวกันหรืออยากจะแก้ปัญหาเดียวกัน การรวมกลุ่มก่อให้เกิดการร่วมกันถกเถียงถึงปัญหา การเสนอแก้ปัญญา การแก้ปัญหาเบื้องตนของคนในกลุ่มหรือในชุมชนสามารถทำได้เองไม่ต้องพึ่งกลไกของรัฐบาล นอกจากนั้นการรวมกลุ่มก่อให้เกิดพลังเสียงเพื่อแสดงออกถึงปัญหาของตนไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากรัฐนิ่งเฉยก็สามารถรวมตัวการชุมประท้วงเพื่อกดดันรัฐบาลได้(แต่ต้องชุมนุมการด้วยความสงบเรียบร้อยใต้กรอบกฎมาย) ซึ่งกลไกเหล่านี้อาจจะทำไม่ได้หรือทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพภายใต้ระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ขั้นต่อมานอกเหนือจากแสดงออกถึงปัญหาของกลุ่มหรือชุมชนแล้ว ประชาชนควรได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหรือเสนอข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาแก่รัฐบาล รัฐบาลต้องรับฟังข้อเสนอของประชาชนหรือให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมหรือส่งตัวแทนหรือได้เลือกตัวแทนผ่านการเลือกตั้งในการแก้ปัญหา

ขั้นสุดท้ายคือขั้นที่ขาดไม่ได้คือการติดตามประเมินผลการแก้ปัญหาหรือการบริหารราชการของรัฐบาล ประชาชนสามารถวิจารณ์การทำงานหรือผลงานของรัฐบาลได้ สื่อสามารมวลชนมีอิสระในการนำเสนอข่าวในด้านการวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล นอกจากนี้ประชาชนจำเป็นติดตามตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาลหรือหน่วยงานตรวจสอบ องค์กรยุติธรรมต่างๆ ว่ามีการทุจริตคอรัปชันหรือไม่ ในที่นี้ผู้ข้ออยากเน้นย้ำว่าประชาชนควรตรวจสอบหน่วยงานตรวจสอบและองค์ยุติธรรมด้วย ไม่ควรเชื่อว่าหน่วยงานเหล่านั้นทำงานดีอยู่แล้ว เพราะหน่วยงานเหล่านี้อาจตกอยู่อำนาจของการเมืองหรือทุน หรือเลือกปฏิบัติกับฝ่ายการเมืองใดการเมืองหนึ่ง

นี่คือแนวทางในการแก้ปัญหาทางการเมืองโดยสรุปคือ ประชาชนควรมีความรู้สึก “อยากมีส่วนร่วม”ในการเมือง ประชาชนสามารถแสดงออก มีส่วนร่วม วิจารณ์ตรวจสอบรัฐบาลได้ มีสิทธิในการเลือกผู้แทนของตนผ่านการเลือกตั้งได้ ติดตามข่าวสารการทำงานของรัฐบาล หรือคอยตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาลและหน่วยงานตรวจสอบรัฐบาลอย่างสม่ำเสมอ ผู้เขียนมีความเชื่อว่ากลไกนี้ทำงานได้ดีในระบอบประชาธิปไตยหรือเรียกอีกอย่างว่ากลไกนี้เองมีความเป็นประชาธิปไตยหรือช่วยสนับสนุนประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่ “เชื่อมั่น”ในนักการเมืองผ่านการเลือกตั้ง หรือผู้นำเผด็จการทหารหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งในการปฏิรูป

Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s